(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.65 อ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ หลังดอลล์แข็ง นลท.รอดูคืบหน้าสงครามการค้า มองกรอบวันนี้ 30.60-30.70

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 2, 2019 11:13 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 30.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 30.59 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะยูโรที่อ่อนค่าสุดในรอบ 27 เดือน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าตลาดคาดการณ์ไว้

"บาทอ่อนค่าจากช่วงท้ายเมื่อวันศุกร์ หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะยูโรที่อ่อนค่าสุดในรอบ 27 เดือน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 30.60-30.70 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอดู ความชัดเจนเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งสหรัฐฯ ไม่ได้เลื่อนกำหนดการสั่งเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในวันที่ 1 กันยายน และความชัดเจนเรื่องการที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสภาพยุโรป (Brexit)

THAI BAHT FIX 3M (30 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.25838% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.24574%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.6175 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ 106.12 เยน/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 106.40 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0983 ดอลลาร์/ยูโร จากสัปดาก์ก่อนที่ระดับ 1.1039 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.6460 บาท/ดอลลาร์
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรือ
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.62
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ (2-6 ก.ย.) ที่ 30.40-30.80 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และ BREXIT ตลอดจนสัญญาณดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่
ระดับสูงของเฟด ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะประกาศระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่าง
งาน ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนส.ค. รายจ่ายด้านการก่อสร้างและยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค. นอกจากนี้ ตลาด
ในประเทศอาจรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือนส.ค. ของไทยด้วยเช่นกัน
  • "แบงก์ชาติ" เปิดรายงานพิเศษชำแหละหนี้ครัวเรือน "3 ภูมิภาค" พบสัญญาณความเสี่ยงพุ่ง จากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งโป
ร 0% ผ่อนนานขึ้น ขณะ มาตรฐานสินเชื่อด้อยลง พบ "เบี้ยวหนี้" ตั้งแต่งวดแรกพุ่ง ส่วนลูกค้าบัตรเครดิตเริ่มจ่ายหนี้แบบเต็มวงเงินน้อย
ลง ด้าน ธปท. แจงเหตุเลื่อนใช้เกณฑ์ "ดีเอสอาร์" หวั่นซ้ำเติมลูกหนี้ ช่วงเศรษฐกิจชะลอ
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในเดือนก.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้ครม.พิจารณาขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่า
เพิ่ม (แวต) 7% ออกไปอีก เนื่องจากมองว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นอัตราที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่ในรายละเอียด
กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะขอให้ ครม.ขยายภาษีออกไปอีก 1 ปี 2 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน"หลักการ
พิจารณาอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คลังจะให้ความสำคัญโดยดูจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอันดับแรก ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เสนอให้ต่อ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ต่อไปแน่นอน แต่กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะขอให้ ครม.ขยายการลดภาษีออกไปเป็นแบบปีต่อปี หรือขอไปทีเดียว 2 ปีเลย
ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดก่อน เพราะมีผลต่อการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจในอนาคต
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ
นักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.5% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย.

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.2% ใน เดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย.

  • ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดิ่งลงในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2555 โดยได้รับผล
กระทบจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
  • สหรัฐและจีนได้เริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าตามแผนการเดิมแล้วเมื่อวานนี้ (1 ก.ย.) นับตั้งแต่เวลา 11.00 น. ตามเวลา
ไทย โดยในรอบนี้ รัฐบาลสหรัฐได้เริ่มเก็บภาษี 15% จากสินค้าจีนมูลค่าประมาณ 1.25 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึง สมาร์ทวอทช์ ทีวีจอ
แบน และรองเท้า ขณะที่จีนได้เริ่มเก็บภาษี 5% จากการนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐเมื่อวานนี้เช่นกัน
  • ขณะเดียวกัน จีนประกาศว่าจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ 5-10% รวม 5,078 รายการ มูลค่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์
สหรัฐ โดยบางส่วนได้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวานนี้ และที่เหลือจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ธ.ค. เช่นกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ