ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.53/54 ระหว่างวันเคลื่อนไหวกรอบแคบ ตลาดจับตาผลประชุมเฟดคืนนี้ คาดกรอบพรุ่งนี้ 30.40-30.60

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 18, 2019 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.53/54 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับ ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.52/56 บาท/ดอลลาร์

ตลอดทั้งวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เพราะยังรอติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในคืนนี้ ซึ่งล่าสุดตลาดได้ปรับลดโอกาสที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ลง เนื่องจากมีสถานการณ์การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระ เบียเป็นปัจจัยที่เข้ามาล่าสุด

"ตลาดเริ่มไม่มั่นใจว่าประชุมเฟดรอบนี้ จะใช้กรณีที่โรงกลั่นน้ำมันของซาอุฯ ถูกโจมตี เข้ามาเป็นปัจจัยพิจารณาด้วยหรือไม่ ซึ่งหากฟื้นได้ไว ปริมาณการผลิตน้ำมันก็น่าจะกลับมาเป็นปกติในช่วงสิ้นเดือน" นักบริหารเงินระบุ

ทั้งนี้ หากเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยลง ก็คาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปอยู่ที่ระดับ 30.40 บาท/ดอลลาร์ แต่หากเฟดคงดอกเบี้ย ไว้เท่าเดิม บาทก็มีโอกาสจะอ่อนไปแตะระดับ 30.60 บาท/ดอลลาร์ได้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40 - 30.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.20/23 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.19 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1048/1052 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดัย 1.1067 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,654.14 จุด ลดลง 9.79 จุด (-0.59%) มูลค่าการซื้อขาย 64,849 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,367.92 ลบ.(SET+MAI)
  • ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เพราะหัวหน้า
คณะรักษาความสงบแห่งขาติ (คสช.) ไม่มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ได้มาโดยการยึดอำนาจ และไม่ได้อยู่
ภายใต้การบังคับบัญชาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
  • ประธานธนาคารโลก (World Bank) ได้แสดงความเห็นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ มีแนวโน้มชะลอตัวลง
มากกว่าที่ธนาคารโลกคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น โดยสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจที่แท้จริง
ของโลก จะขยายตัวต่ำกว่าที่ธนาคารโลกคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2.6%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงิน ท่ามกลางแรงกดดันให้ยืดระยะเวลาการผ่อนคลาย
นโยบายการเงินเช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อป้องกันผลกระทบจากภาพรวมทาง
เศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า BOJ มีแนวโน้มที่จะต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย หากความเคลื่อน
ไหวของเฟดทำให้เงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • นักลงทุนจับตาผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FONC) ซึ่งจะมีการ
แถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือเช้าวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย รวมทั้งรอฟังแถลงการณ์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) ภายหลังการประชุมในครั้งนี้ด้วย
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสเหลือเพียง 65.8% ที่เฟดจะปรับลด

อัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 17-18 ก.ย. ขณะที่มีโอกาส 34.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่

ระดับ 2.00-2.25%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ