ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.55 ระหว่างวันแข็งค่าแตะ 30.52 หลังกนง.มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ย มองกรอบพรุ่งนี้ 30.50-30.60

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 25, 2019 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.55 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเช้าที่ ระดับ 30.56 บาท/ดอลลาร์

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 7:0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมนั้นส่งสัญญาณ ว่าอาจจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีก หากตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ปรับตัวดีขึ้น

"พอผล กนง.ออกมา บาทก็แข็งค่าจาก 30.59 (บาท/ดอลลาร์) ลงมาที่ 30.52 (บาท/ดอลลาร์)" นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนความเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศกรณีการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกจากตำแหน่งนั้นน่าจะมี กระบวนการอีกนานพอสมควร

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 30.50-30.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 107.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0998 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1009 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,628.38 จุด ลดลง 2.12 จุด, -0.13% มูลค่าการซื้อขาย 44,862.50 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 183.64 ล้านบาท (SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี ซึ่งการตัดสิน
นโยบายในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 62 มีแนวโน้มขยายตัว 2.8% ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ที่ 3.3% จากการส่งออกที่
คาดว่าจะหดตัวกว่าคาด ซึ่งส่งผลไปสู่อุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ภาวะ
การเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย เสถียรภาพระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม
  • ผู้บริหารงานวิจัยงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ธนาคารเตรียมปรับลดประมาณ
การอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 62 ลดลงมาที่ 2.7-2.9% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ราว 3.1% เนื่องจาก
ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่
ยังมีความยืดเยื้อ กดดันภาคการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวอย่างมาก โดยการส่งออกไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปีติดลบไปแล้วถึง 2%
ธนาคารจึงปรับลดมุมมองการส่งออกของไทยในปีนี้จะหดตัว จากเดิมที่คาดว่าจะทรงตัว หรือมีอัตราเติบโตเป็น 0%

ในปีนี้ธนาคารฯ คาดว่าเงินบาทเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 30.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะไม่แข็งค่าไปมากกว่า 30 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เงินบาทก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง โดยธนาคารมองว่าการใช้นโยบายทางการเงินในการเข้ามาช่วยทำให้ค่าเงิน บาทอ่อนค่าในปัจจุบันเริ่มมีข้อจำกัดและเริ่มใช้ไม่ได้ผล เห็นได้จากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน ง.) ในการประชุมเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เงินบาทก็ปรับอ่อนค่าได้เพียงช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็กลับมาแข็งค่าเหมือนเดิม

  • รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน ได้ออกมาเตือนสหรัฐว่า หากต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐมีเสถียรภาพ
แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเคารพในอธิปไตย ระบบสังคม และแนวทางการพัฒนาซึ่งกันและกัน และสหรัฐควรหลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยชี้นำที่
ผิดๆ เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับจีน
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า จีนจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่รอบคอบต่อไป, เสริมสร้างความแข็ง
แกร่งในการปรับตัวที่สวนทางกับวัฏจักร และ จะไม่ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบน้ำท่วม
  • ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐและญี่ปุ่นได้หารือเกี่ยวกับ "ความคืบหน้าที่เป็นบวกเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าทวิภาคี"
และ "ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์นี้จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมของทั้งสองประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้าน
เศรษฐกิจ"

กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ พร้อมกับเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างสองประเทศต่อไป

  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงาน Asian Development Outlook (ADO) 2019 ADB
คาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา 45 ประเทศในเอเชียอยู่ที่ 5.4% ในปีนี้ ก่อนปรับขึ้นสู่ 5.5% ในปี 2563 แต่ลด
ลงจาก 5.7% ในการคาดการณ์ครั้งก่อนสำหรับปีนี้ และ 5.6% สำหรับปีหน้า
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้ทวีตข้อความตอบโต้ทันทีหลังจากประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ประกาศเริ่ม

กระบวนการไต่สวนเพื่อถอดถอนตนออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี โดยทรัมป์กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขู่ประธานาธิบดี


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ