ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.65/66 อ่อนค่าหลังเงินเฟ้อก.ย.อยู่ในระดับต่ำ คาดกรอบบาทพรุ่งนี้ 30.50-30.70

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 1, 2019 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.65/66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.58 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า โดยเป็นผลมาจากที่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนก.ย.62 เพิ่มขึ้น 0.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยอื่นที่จะมีผลมากนัก

"วันนี้พาณิชย์ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.ย. ซึ่งถือว่าออกมาค่อนข้างต่ำ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.50-30.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.63/38 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.13 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0894/0895 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0894 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,624.09 จุด ลดลง 13.13 จุด (-0.80%) มูลค่าการซื้อขาย 40,855 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,496.21 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.ย.62 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อน 0.32% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องค่อนข้างมากจากเดือนก.ค.และส.ค.ที่ผ่านมา เป็นผลจากสินค้าในกลุ่ม
พลังงานหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปีนี้ใหม่เป็น
0.7-1.0% จากเดิม 0.7-1.3% ซึ่งคาดว่าทั้งปีนี้เงินเฟ้อจะเฉลี่ยไม่เกิน 0.9%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาดโต 3.1%
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กระทบมาถึงภาคการส่งออกของไทย ขณะที่มองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีโอกาสจะเติบโตได้
ต่ำกว่า 3% เนื่องจากยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่มีความไม่แน่นอนอยู่มาก ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอาจ
จะชะลอตัวและกระทบภาคส่งออกไทยที่ยังมีทิศทางหดตัว
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 62 ลงมาอยู่
ที่ -1.5% จากเดิมที่เคยคาด -1% โดยมองว่าอุปสรรคสำคัญมาจากเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง, ราคาน้ำมันดิบที่ยังผันผวนจาก
เหตุโจมตีโรงกลั่นในซาอุดิอาระเบีย, เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า, สถานการณ์ Brexit ที่
ยังคลุมเครือ และสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศ
  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ข้อตกลงการค้ากับสหรัฐนั้น ได้มีการคุ้มครองผลประโยชน์ต่างๆนานาของญี่ปุ่นแล้ว และได้ให้
คำมั่นว่าจะเตรียมมาตรการเพื่อบรรเทาความกังวลของเกษตรกรในประเทศ ก่อนที่ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มบังคับใช้มาตรการปรับขึ้นภาษีการบริโภคสู่ระดับ 10% ในวันนี้เป็นวันแรก จากเดิมที่ระดับ 8% ขณะที่รัฐบาล
พยายามหาทางลดผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของต้นทุนด้านประกันสังคม อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเกิดที่
ลดน้อยลง
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 0.75% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์ จากเดิมที่ระดับ 1% ในการประชุมวันนี้ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งแนวโน้มการ
อุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ยังไม่แน่นอน ข้อพิพาทด้านการค้าและเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีนยังส่งผลกระทบต่อการค้าโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ