ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.19 ทรงตัวจากช่วงเช้าแม้ตัวเลขส่งออกไทยหดตัวกว่าคาด แต่ตลาดยังให้น้ำหนักปัจจัยตปท.เป็นหลัก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 21, 2019 18:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 30.19 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากเปิด ตลาดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ระหว่างวันแกว่งแคบในกรอบระหว่าง 30.19-30.21 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้วิ่งแคบมาก แม้ตัวเลขส่งออก-นำเข้าจะติดลบเยอะกว่าคาด หลักๆ ตลาดยังคงให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งมีประเด็นสถานการณ์ฮ่องกงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลังเมื่อคืนนี้วุฒิสภาสหรัฐผ่าน ร่างกฏหมายสนับสนุนผู้ประท้วงในฮ่องกง แต่ก็มีผลต่อตลาดหุ้นไทยและตลาดพันธบัตรมากกว่า"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ยังคงประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันพรุ่งนี้ระหว่าง 30.15-30.25 บาท/ดอลลาร์เท่า เดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.56 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 108.44 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1084 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1065 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,591.86 จุด ลดลง 4.97 จุด, -0.31% มูลค่าการซื้อขาย 47,152.79 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 354.92 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยใน
เดือน ต.ค. 62 โดยการส่งออกมีมูลค่า 20,757.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -4.54% เมื่อเทียบกับ ต.ค.61 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า
20,251.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -7.57% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 506.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ส่วนในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คือ เดือน พ.ย.62 น่าจะยังติดลบอยู่ แต่เชื่อว่าจะเป็นบวกในเดือน ธ.ค.62 เพราะ ฐานในปีก่อนต่ำมากมีมูลค่าเพียง 19,400 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จึงคาดว่าเดือน ธ.ค.ของปีนี้มูลค่าส่งออกน่าจะทำได้มากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้คือเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งเศรษฐกิจปีนี้
เป็นปีที่สำคัญต้องไม่ให้แรงส่งในการสนับสนุนขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวมากเกินไป เพื่อที่จะได้เพียงพอในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี
หน้าและระยะต่อไปได้
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยหลังงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง "ผลกระทบจากการจัดทำ
ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป" ที่ร่วมกับสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ว่า การจัดทำเอฟทีเอไทย-อียู โดยการ
ลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการของทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยเพิ่มขึ้น 1.63% อัตราเงินเฟ้อลด
ลง 0.41% การส่งออกเพิ่มขึ้น 3.43% การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.42% การลงทุนเพิ่มขึ้น 2.74% ตลอดจนตัวเลขด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น
สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.32% และจำนวนคนจนลดลง 3.9 แสนคน เป็นต้น
  • โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ทางการจีนมีความยินดีในการร่วมงานกับรัฐบาลสหรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหา
ร่วมกันและบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรกโดยเร็ว เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกด้วย

ขณะที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์ได้ออกมาเตือนว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลกใน แง่ของห่วงโซ่อุปทาน การลงทุน และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ

  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตือนว่า ปัญหาท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเงินของยูโรโซนนั้นยังคงดำเนินอยู่ จึงมีความ

จำเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องคอยเฝ้าระวัง และนำเครื่องมือลดความเสี่ยงเชิงระบบมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ