ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.18/19 แข็งค่ากว่าภูมิภาค รับเม็ดเงินไหลเข้าหลัง S&P ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือเศรษฐกิจไทยดีขึ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 12, 2019 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.18/19 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.19/22 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัท S&P ปรับมุมมองความ น่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทยมาเป็นเชิงบวก โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งอื่น ทั้งฟิทช์ และมูดี้ส์ จึงส่งผล ให้ประเทศไทยมีความน่าลงทุนมากขึ้นในสายตาของต่างชาติ

"บาทที่กลับมาแข็งค่า น่าจะเป็นจากข่าวการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหลายบริษัทที่ให้มุมมองประเทศไทยดีขึ้น ทำให้ไทยดู น่าลงทุนมากขึ้น นักลงทุนตอบสนองข่าวนี้ค่อนข้างมาก จึงมี flow เข้ามาถือบาทเยอะ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน ระบุว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15-30.28 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1129 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1130 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,563.85 จุด เพิ่มขึ้น 12.03 จุด (+0.78%) มูลค่าการซื้อขาย 56,740 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,873.43 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ล่าสุด บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้มีการปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจ
ไทยจากระดับมีเสถียรภาพ (Stable) เป็นเชิงบวก (Positive) และยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในการออกตราสารหนี้สกุล
เงินตราต่างประเทศระยะยาวที่ BBB+ และระยะสั้นที่ A-2 รวมทั้งคงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินบาทระยะยาวที่ A- และระยะสั้นที่ A-
2 ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และสนับสนุนให้รัฐบาลสามารถดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติได้อย่าง
ต่อเนื่อง
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 จะเติบโตได้มากว่า 3% และถือ
ว่าเป็นไตรมาสที่เติบโตได้สูงสุดของปี 2562 โดยได้รับอานิสงส์ดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่ทยอยออกมาอย่างต่อ
เนื่อง และเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมจากการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากรายได้ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใน
เดือนต.ค.62 ที่เพิ่มขึ้น 6% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ย.เช่นกัน ซึ่งจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้สามารถเติบโตได้ที่ระดับ
2.6-2.8%
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุผ่านบทความเรื่อง"ยกระดับคุณภาพงบการเงิน
บริษัทจดทะเบียนไทยด้วย TFRS 9"ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 ประเทศไทยจะเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) กลุ่ม
เครื่องมือทางการเงิน ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยที่จะช่วยยกระดับการรายงานทางการเงินของไทย
ให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น ทำให้งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และสามารถเปรียบเทียบกับงบ
การเงินในตลาดทุนต่างประเทศได้
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่าไม่ได้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดิน ทุกอย่างยังมีผลบังคับ
ใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 เหมือนเดิม แต่กระบวนการเสียภาษีจะเริ่มต้นในวันที่ 1 พ.ค.เพื่อตรวจสอบ และทำการเสียภาษีในเดือน ส.
ค.
  • รายงานข่าวจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทยเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลา
ดำเนินการของผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 "เฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้าง ประจำปี พ.ศ. 2563 เป็นการทั่วไป" โดยประชาชนสามารถชำระภาษีที่ดินได้ตั้งแต่เดือนเมษายน – สิงหาคม 2563 โดยไม่
เสียค่าปรับ
  • ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทไทยในปี 63
จะยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า มีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 29.25-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จากสิ้นปี 62 ที่ธนาคารคาดว่าอยู่ที่ 30.40 บาท/
ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินบาทในปีหน้าจะเป็นลักษณะแข็งค่าใกล้เคียงกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค แต่เป็นการแข็งค่าที่ชะลอตัวลง
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563
โดยระบุว่า ในทางเศรษฐกิจขอพยากรณ์ว่าปีหน้าจะมีหนู 2 ตัว คือมีทั้งด้านบวกและด้านลบ จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.7%
เพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในปี 2562
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กำลังเจรจากับธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดของอังกฤษ เพื่อเสนอซื้อหุ้นเกือบ 90% ของ
ธนาคารพีที แบงก์ เพอร์มาตา (PT Bank Permata) ของอินโดนีเซีย ซึ่งสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดถือหุ้นอยู่ โดยคิดเป็นมูลค่าตลาด
ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป อิงค์ของญี่ปุ่นก็ยื่นเสนอซื้อหุ้นของธนาคารพีที แบงก์ เพอร์
มาตา ด้วยเช่นกัน
  • คณะรัฐมนตรีอินโดนีเซียกำลังหารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะผ่อนคลายเพดานการขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 3% ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งการผ่อนคลายดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายและกู้ยืมได้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจ
  • บรรดาซีอีโอของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐได้ปรับลดคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน ซึ่งส่วน
หนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐ
  • รัฐบาลอังกฤษเปิดคูหาการเลือกตั้งแล้วในวันนี้ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit)
  • ตลาดการเงินจับตานางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) คนใหม่ ซึ่งจะเข้ารวมการประชุมนโยบาย
การเงินครั้งแรกในวันนี้ หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งต่อจากนายมาริโอ ดรากี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ