ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.16/17 แกว่งแคบ ธุรกรรมเบาบาง-ไร้ปัจจัยสำคัญหนุนทิศทาง คาดกรอบพรุ่งนี้ 30.15-30.20

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 23, 2019 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.16/17 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.20 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ คาดว่าเป็นช่วงท้ายปี การทำธุรกรรมไม่ค่อยเยอะมากนัก แม้วันนี้กระทรวงพาณิชย์จะ ประกาศตัวเลขการส่งออกในเดือนพ.ย.62 ที่ติดลบไปถึง 7.4% แต่ก็ไม่ได้มีผลต่อค่าเงินบาทมากนัก เช่นเดียวกันปัจจัยต่างประเทศที่วันนี้ ยังเงียบๆ และไม่มีปัจจัยสำคัญมากนัก

"วันนี้บาทค่อนข้างจะนิ่งๆ ไม่ค่อยมีธุรกรรมมาก แม้ตัวเลขส่งออกจะออกมาติดลบเยอะ แต่บาทก็ไม่ได้อ่อนค่าไปมาก ปัจจัยทั้ง ในและต่างประเทศวันนี้ไม่ค่อยมีผลต่อเงินบาท คาดว่าพรุ่งนี้ เงินบาทก็ยังอยู่ในกรอบแคบๆ เช่นเดิม" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15 - 30.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.37/40 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.41 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1082/1086 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1078 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,573.57 จุด เพิ่มขึ้น 0.65 จุด (+0.04) มูลค่าการซื้อขาย 42,880 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 724.33 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานมูลค่าการส่งออกไทยในเดือนพ.ย.62 ลดลง -7.39% ที่มูลค่า 19,657 ล้านดอลลาร์ ขณะที่
การนำเข้าลดลง -13.78% ที่มูลค่า 19,108 ล้านดอลลาร์ เกินดุลการค้า 548 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.
ค.-พ.ย.62) การส่งออกไทยยังคงหดตัว -2.77% ส่วนการนำเข้าหดตัว -5.22% แต่ยังเกินดุลการค้า 9,008 ล้านดอลลาร์
โดยกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าในปี 62 การส่งออกของไทยจะลดลง -2% ที่มูลค่าประมาณ 247,000 ล้านดอลลาร์
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปี 2563 อาจเติบโตเพียง 3.5% ซึ่งจะเป็นอีกปีที่ธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องเผชิญกับโจทย์ท้าทายรอบด้าน จากภาพเศรษฐกิจไทยปี 2563 ที่ขยายตัวในกรอบต่ำ ยังคงเป็นแรงกดดันต่อแนว
โน้มการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลัก ทั้งการปล่อยสินเชื่อ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องเตรียมรับมือกับ
โจทย์การปรับเปลี่ยนกรอบกฎเกณฑ์และแนวนโยบายของทางการ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการดำเนิน
ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในปี 2563
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เฉลี่ยในปี 2563 จะยังอยู่ที่ 0.7% (กรอบประมาณการที่ 0.4-
0.9%) โดยให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่องภาวะขาดแคลนน้ำทำการเกษตรที่อาจจะส่งผลต่อราคาอาหารสดในช่วงครึ่งปีแรก และการปรับขึ้นค่า
จ้างขั้นต่ำในเดือนม.ค.2563 ที่จะเข้ามาเป็นแรงหนุนเงินเฟ้อ ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภาย
ในประเทศ
  • ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 63 จะขยายตัวได้ 2.8% สูงกว่าปีนี้ที่อาจเติบโต
ไม่เกิน 2.5% ซึ่ง ธปท.ยังไม่พอใจกับตัวเลขดังกล่าวเท่าที่ควร เพราะเป็นการเติบโตที่ไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรเติบโตได้ราว 3.5-
4% เนื่องจากยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่สร้างความไม่แน่นอน โดยเฉพาะสงครามการค้า ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทิศ
ทางของค่าเงินที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านต่ำ ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ว่าการ ธปท. มองว่า นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือที่ยังสามารถใช้ได้ หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มไม่เป็นไปตามที่
ธปท.คาด โดยอาจจะต้องนำนโยบายการเงินมาเป็นเครื่องมือในการใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต้องสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ
ประกอบกับการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพของระบบการเงินไทยมาประกอบการพิจารณาในการใช้นโยบายการเงิน
แต่ ธปท.มองว่านโยบายการคลังจะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตรงจุดมากกว่า เพราะการที่รัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินลงไป
สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และใช้ระยะเวลาไม่นานในการเห็นผล
  • ผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่า ธปท.ยังคงดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเงินบาทยังแข็งค่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกส่งผลกระทบต่อค่าเงินสกุลต่างในโลกด้วย ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลในระดับสูง แต่คาดว่า
จะลดลงในปีหน้า ทั้งนี้ การดูแลค่าเงินบาทยังต้องทำอย่างระมัดระวัง ซึ่ง ธปท.ได้แนะนำให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง
ค่าเงินให้มากขึ้น ต่างกับหลายประเทศที่ธนาคารกลางไม่ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงิน แต่ผู้ประกอบการยังสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ ซึ่งเป็น
สิ่งที่ ธปท.อยู่ระหว่างการศึกษา
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
30.10-30.35 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดจะยังให้ความสนใจกับทิศทางการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการเจรจาการค้าระหว่าง
สหรัฐฯ กับจีน โดยนักลงทุนส่วนหนึ่งเริ่มมองไปถึงการเจรจารอบใหม่ของทั้งสองประเทศมหาอำนาจ และคาดว่าจะมีการลงนามข้อ
ตกลงเฟสแรก ในเดือน ม.ค.63 นอกจากนี้ ตลาดยังรอดูความคืบหน้าเกี่ยวกับ Brexit ด้วย
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐได้เชิญนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดินทางเยือนทำเนียบขาวในช่วง
ปีใหม่ที่จะถึงนี้
  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานาธิบดีเกาหลีใต้ จะเข้าพบกับประธานาธิบดีจีนที่กรุงปักกิ่งในวันนี้ โดยการพบปะกันของผู้นำ
ทั้งสามเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่า เกาหลีเหนืออาจจะกลับมาเผชิญหน้ากับสหรัฐอีกครั้ง
  • สหรัฐเตรียมจัดการประชุมระหว่าง รมต.ต่างประเทศจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในเดือนหน้า เพื่อร่วมกันรับมือกับการยั่วยุจาก
เกาหลีเหนือ ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่มีกระแสคาดการณ์ว่า เกาหลีเหนือจะทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป หรืออาจกระทำ
การยั่วยุอื่น ๆ ในขณะที่การเจรจากับสหรัฐหยุดชะงักลง โดยก่อนหน้านี้ เกาหลีเหนือได้ขีดเส้นตายให้สหรัฐสร้างความคืบหน้าด้านการ
เจรจา เพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงปลายปีนี้
  • ทำเนียบขาวออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยระบุว่า ประธานสภาผู้
แทนราษฎรสหรัฐ ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะชะลอการส่งมอบญัตติการถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไปให้วุฒิสภาพิจารณาได้
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเงิน 5 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 7.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบการเงิน
ในวันนี้ ผ่านทางข้อตกลง reverse repos ประเภทอายุ 14 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.65% โดยทางการจีนได้ให้คำมั่นว่า จะดำเนิน
นโยบายทางการเงินอย่างรอบคอบระมัดระวัง โดยจะไม่ผ่อนคลายหรือคุมเข้มมากจนเกินไป พร้อมกับรักษาสภาพคล่องในตลาดให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสมในปี 2562
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคง
ทนเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ