ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.เปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความผิดชอบของผู้ขนส่งทางอากาศ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 2, 2020 17:01 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยน แปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ.2558 พ.ศ. …. ตามที่กระทรวง คมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเสนอว่า

1. ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาเพื่อการรวบรวมกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการรับขนระหว่างประเทศทางอากาศ หรืออนุสัญญามอนตริออล ค.ศ. 1999 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 โดยมีพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายอนุวัติการพันธกรณีตามอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งพระราชบัญญัติฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ ขนส่งทางอากาศที่มีต่อคนโดยสาร ผู้ตราส่งและผู้รับตราส่ง รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การจำกัดความรับผิด (limits of liability) โดย กำหนดเป็นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights ; SDR)

2. สำนักงานสาขาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้มีหนังสือถึงสำนักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย (กพท.) แจ้งเรื่องการทบทวนเกณฑ์จำกัดความรับผิดตามข้อ 24 ของอนุสัญญาฯ ว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่าง ประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ในฐานะผู้เก็บรักษาอนุสัญญา (Depository) ได้พิจารณา ทบทวนเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามอนุสัญญาฯ ตามรอบระยะเวลา 5 ปี โดยอ้างอิงตามอัตราเงินเฟ้อสะสมซึ่งเพิ่มขึ้น 13.9% โดยการทบทวนดังกล่าวนี้ จะมีผลใช้บังคับภายในหกเดือนนับจากหนังสือแจ้งดังกล่าวนี้ คือ ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2562 รวมทั้งแจ้งว่า ไม่มีกรณีรัฐภาคีส่วนใหญ่แจ้งไม่เห็นด้วยกับการทบทวนปรับแก้เกณฑ์ดังกล่าวภายใน 3 เดือน นับจากหนังสือฉบับแรกของ ICAO และ ICAO ขอให้รัฐภาคีของอนุสัญญาฯ จัดทำกฎหมายภายในเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ

3. กระทรวงคมนาคมเห็นว่าเกณฑ์จำกัดความรับผิดใหม่นี้มีความเหมาะสมตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของ โลก และเพื่อให้คนโดยสาร ผู้ตราส่ง หรือผู้รับตราส่ง ได้รับการชดเชยความเสียหายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้นจากผู้ขนส่ง และ โดยที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า เกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง ตามพระราชบัญญัตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา กระทรวงคมนาคมจึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อ ปรับปรุงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อคนโดยสาร สัมภาระของคนโดยสาร และของที่รับขนส่ง

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. เปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 โดย ให้ใช้เกณฑ์จำกัดความรับผิด ดังต่อไปนี้แทน

เกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่อง	             เดิม                   ทบทวนและปรับแก้ในครั้งนี้
                                    หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน/คนโดยสาร      หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน/คนโดยสาร

คนโดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย
(มูลค่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งไม่อาจบอกปัดหรือจำกัดได้)       113,100                      128,821
(มาตรา 14 ของพ.ร.บ.การรับขนทางอากาศฯ)      (ประมาณ 4,784,763 บาท)      (ประมาณ 5,462,491 บาท)


ความล่าช้าในการรับขนคนโดยสาร                        4,694                         5,346
(มาตรา 15 ของพ.ร.บ.การรับขนทางอากาศฯ)      (ประมาณ 198,582 บาท)         (ประมาณ 226,690 บาท)

สัมภาระลงทะเบียนถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหาย
หรือสัมภาระล่าช้า                                    1,131                         1,288
(มาตรา 16 ของพ.ร.บ.การรับขนทางอากาศฯ)     (ประมาณ 47,848 บาท)	        (ประมาณ 54,616 บาท)

ของถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหาย หรือสัมภาระล่าช้า       19/กิโลกรัม                    22/กิโลกรัม
(มาตรา 39 ของพ.ร.บ.การรับขนทางอากาศฯ)        (ประมาณ 804 บาท)             (ประมาณ 933 บาท)

2. พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ