ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.29 อ่อนค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย หลังเงินไหลออก-กังวลมาตรการดูแลบาท

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 14, 2020 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.29 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 30.25/29 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 30.21 - 30.32 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ เนื่องหลังจากมีแรงซื้อดอลลาร์ และนักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตร

"เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง หลังมี flow ไหลออก และนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการดูแลค่าเงินบาท ของแบงก์ชาติ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.25 - 30.35 บาท/ดอลลาร์ นักลงทุนจับตาดูความคืบหน้า การทำข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐกับจีน และตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.01 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.80/110.25 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1130 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1115/1160 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,586.90 จุด เพิ่มขึ้น 0.74 จุด, +0.05% มูลค่าการซื้อขาย 60,302.81 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 831.31 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้สาเหตุเงินบาทแข็งค่าในปี 62 ที่ผ่านมาเกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก
ไม่ใช่แรงเก็งกำไรต่างชาติ โดยยอมรับว่ามีความกังวลและติดตามสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมใช้มาตรการ
เพิ่มเติมหากจำเป็น อย่างไรก็ตามมองว่าทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกับ ธปท.ในการแก้ไขปัญหานี้
  • ศูนย์วิจัยทองคำ เผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน ม.ค.63 อยู่ที่ 63.15 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 7.91 จุด หรือคิด
เป็น 14.32% จากระดับ 55.24 จุดในเดือน ธ.ค.62 โดยมีปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง และความต้องการซื้อสินทรัพย์
ปลอดภัย
  • ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดปี 2563 มูลค่าการส่งออกของไทยจะอยู่ที่ราว
244,231 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วง 240,472-247,621 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือหดตัว -0.9% (อยู่ในช่วง -2.4% ถึง 0.5%)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบรายจ่ายปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้เป็นกลไก
สำคัญที่ทำให้งบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐได้ออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีเม็ดเงินช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ไทยให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยตั้งเป้าหมายให้มี
การใช้จ่ายที่ 54% ของงบรายจ่ายรวมทั้งหมด ซึ่งเมื่อสิ้นไตรมาส 2 ของปีงบ 63 (สิ้น มี.ค.63) ซึ่งจะมีเม็ดเงินงบประมาณลงสู่ระบบ
เศรษฐกิจราว 1 ล้านล้านบาท
  • กรมบัญชีกลางเผยผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ณ สิ้นไตรมาสแรก (1 ต.ค.-31 ธ.ค.62) มี
การใช้จ่ายแล้วจำนวน 765,740 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 3,000,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25.52%
  • โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวในวันนี้ว่า จีนไม่เคยบิดเบือนค่าเงิน ซึ่งถ้อยแถลงของโฆษกฯมีขึ้นหลังจากที่
รัฐบาลสหรัฐได้ถอดจีนออกจากรายชื่อประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน โดยการตัดสินใจดังกล่าวของสหรัฐมีขึ้นก่อนที่สหรัฐและจีนจะลงนามในข้อ
ตกลงการค้าเฟสแรกในวันพุธที่ 15 ม.ค.นี้
  • ธนาคารกลางไต้หวันออกมาปฏิเสธรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐที่ระบุว่า ธนาคารกลางไต้หวันใช้การสว็อปค่าเงิน
เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา โดยธนาคารกลางไต้หวันยืนยันว่าไม่เคยแทรกแซงตลาดตามที่สหรัฐกล่าวอ้าง
  • กระทรวงการคลังสหรัฐ เผยญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในบรรดา 10 ประเทศคู่ค้าที่ถูกสหรัฐจับตาเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายค่า
เงิน เนื่องจากสหรัฐยังคงวิตกเกี่ยวกับความไม่สมดุลด้านการค้าที่ยังคงมีอยู่อย่างมากระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้ากับ
สหรัฐมากที่สุดเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ระดับ 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562
  • นักวิเคราะห์จากธนาคารยูบีเอสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปี
2563 เนื่องจากเชื่อว่า ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ซึ่งจะผลักดันให้เฟดออก
มาเคลื่อนไหวด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ