ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.45/47 ระหว่างวันแกว่งแคบ ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ มองกรอบพรุ่งนี้ 31.35-31.60

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 10, 2020 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.45/47 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดระดับ 31.43/46 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทค่อนข้างแกว่งในกรอบแคบ เนื่องจากปัจจัยในระหว่างวันยังไม่มีผลมากนักต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ประกอบ กับตลาด price in ไปแล้วว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้าลงมาเหลืออยู่ใน ช่วง 0.50 - 0.75%

โดยพรุ่งนี้ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญทางฝั่งของยุโรป เช่น GDP ไตรมาส 4/62

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.35 - 31.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.52/55 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 103.20/44 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1350/1354 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1400/1420 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,271.25 จุด เพิ่มขึ้น 15.31 จุด (+1.22%) มูลค่าการซื้อขาย 74,686 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 7,227.05 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบชุดมาตรการระยะที่ 1 ในการดูแลผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ
ไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย มาตรการด้านการเงิน, มาตรการด้านภาษี และมาตรการอื่นๆ รวมแล้วเป็นวงเงินสินเชื่อ 150,000
ล้านบาท รวมทั้งสำนักงานประกันสังคม ที่เสนอจะร่วมให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอีก 30,000 ล้านบาท
  • ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า FETCO เตรียมพร้อมจะเสนอแผนสำรองในการกระตุ้น
ตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หากมาตรการของภาครัฐที่จะสนับสนุนการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อ
การออม (SSF) ไม่สามารถช่วยได้ในระยะสั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการควบคู่กันไป เช่น อาจจะให้สิทธิประโยชน์กับการลงทุนในหุ้นโดย
ตรงในวงเงิน 1-2 แสนบาท/คน มีระยะเวลาการถือครองหุ้นตั้งแต่ 2-5 ปี เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของ
ไทยในปี 63 ลงมาอยู่ที่เติบโตเพียง 0.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ซึ่งเป็นระดับการเติบโตของ GDP ที่ต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่
ปี 52 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในช่วงครึ่งหลังของปี จากรายได้
ของภาคการท่องเที่ยวที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับห่วงโซ่การผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการที่จีนปิดเมือง รวมทั้งอุปสงค์ต่างประเทศ
และในประเทศที่อ่อนแอลง
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมี
นัยสำคัญ และจำเป็นต้องมีนโนบายที่มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท่ามกลางการแพร่ระบาด พร้อมเสนอว่าควรมีการนำนโยบายที่
มีเป้าหมายสำคัญมาใช้, ติดตามความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่างแรงงานและภาคธุรกิจ เพื่อพิจารณาว่ากิจกรรมทาง
เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นหรือไม่ ทันทีที่การแพร่ระบาดของโควิดลดน้อยลง
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นว่า ตลาดการเงินทั่วโลกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพอย่างมาก และ
คาดว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ BOJ ได้เข้าซื้อกองทุน EFT
เป็นเงินรวม 2.04 ล้านล้านเยน (1.975 หมื่นล้านดอลลาร์) นับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว และ BOJ ได้ดำเนินนโยบายควบคุมเส้นอัตรา
ผลตอบแทนด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับ -0.1% และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ 0%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ