(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.10 แนวโน้มอ่อนค่าต่อ รับแรงกดดันโควิด-19 ให้กรอบวันนี้ 31.90-32.30

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 17, 2020 11:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อย จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.07 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังไม่ค่อยดี อีกทั้ง มองว่ารัฐบาลยังไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชนได้

"ต้องติดตามการแกัปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมทั้ง ธนาคารกลางหลายแห่ง ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90-32.30 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (16 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.96377% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.89424%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.0888 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.72/95 เยน/ดอลลาร์ จากวานนี้ที่ระดับ 105.84 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1154/1179 ดอลลาร์/ยูโร จากวานนี้ที่ระดับ 1.1193 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.9930 บาท/ดอลลาร์
  • รัฐบาลแถลงยืนยัน โควิด-19 ประเทศไทยยังอยู่ระยะที่ 2 นายกฯ แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ วอนประชาชน
อย่าวิตกเกินไป อย่าตุนสิ่งของ "วิษณุ" เผยขอ ครม.ปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามกีฬา สถานบันเทิง ที่มีผู้คนเกิน 50 และที่ที่มีการ
ชุมนุมต่อเนื่องยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ 13-15 เม.ย. หวังสกัดแพร่ระบาดลดความเสี่ยงเข้าสู่ระยะที่ 3
  • การท่องเที่ยวฯ ประเมินโควิดคลี่คลายในไตรมาส 3 ทำให้เดือนส.ค.เริ่มกลับมาปกติคาดต่างชาติมาไทยช่วงครึ่งหลัง
คาดตลอดปีมี 30 ล้านคน ลดลง 24% รายได้หด 5 แสนล้านบาท หากเป็นปกติแล้วจะมีมาตรการฟื้นฟูท่องเที่ยวทันที แต่ถ้าสถานการณ์ยังไม่
ฟื้นต้องปรับแผนใหม่
  • หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ บริษัท หลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ผลกระทบจากไวรัสโควิด-

19 เป็นปัจจัยเหนือการควบคุม ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะสั้น แต่หากไม่มีมาตรการพยุงเศรษฐกิจที่เห็นผล อาจทำให้

เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย คาดว่าหลังจากนี้ธนาคารกลางทั่วโลกจะทยอยประกาศมาตรการการเงิน ตามหลังธนาคารกลาง

สหรัฐฯ (เฟด) แต่อาจไม่สามารถชะลอการเทขายหุ้น หรือส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในทันที เนื่องจากคนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไป

แล้ว

  • ธนาคารกลางหลายแห่ง จัดประชุมฉุกเฉินรับมือ "โควิด-19" ทุบเศรษฐกิจหนัก "เฟด" หั่นดอกเบี้ยแตะ 0% พร้อม
อัด "คิวอี" 7 แสนล้านดอลล์ ด้าน "บีโอเจ" เพิ่มวงเงิน "คิวอี" อีก 2 ล้านล้านเยน ขณะ "เกาหลีใต้" ลดดอกเบี้ย สู่ระดับต่ำสุดใน
ประวัติการณ์ที่ 0.75% ส่วน "หุ้นไทย" ยังดิ่งหนัก ล่าสุดร่วงอีก 7.34% ต่างชาติเทขาย ทั้ง "หุ้น-บอนด์" กดดันเงินบาทอ่อนสุดรอบ 1
ปี ทะลุ 32 ต่อดอลลาร์
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติใหม่ให้ชาวอเมริกันนำไปปฏิบัติตามในช่วง 15 วันข้าง
หน้า เพื่อชะลอการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 มี.ค.)
หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พร้อมประกาศซื้อพันธบัตร
ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 30 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (16 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่เทขายทองคำเพื่อถือ
เงินสด หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนัก แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใช้ยาแรงด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุก
เฉินและอัดฉีดเงินผ่านการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ก็ตาม
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนก.พ., การผลิตภาค

อุตสาหกรรมเดือนก.พ., ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนม.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย

เดือนมี.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อ

สร้างเดือนก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนมี.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส

4/2562 และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนก.พ.จาก Conference Board


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ