ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.45/49 อ่อนค่าจากช่วงเช้าหลังมีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตร-ตลาดหุ้น มองกรอบพรุ่งนี้ 32.40-32.70

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 18, 2020 17:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.45/49 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.18 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่อ่อนค่า ซึ่งเป็นผลจากมีเงินไหลออกจากทางฝั่งของพันธบัตร และหุ้น ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ประเมินกรอบที่ 32.40-32.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.28/31 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.24 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1003/1004 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1004 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,048.15 จุด เพิ่มขึ้น 12.98 จุด (+1.25%) มูลค่าการซื้อขาย 59,186 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,003.58 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีก 35 ราย โดยมีผู้ที่มีอาการหนัก 2 ราย
เป็นคนไทย 1 รายรักษาอาการอยู่ในโรงพยาบาลที่จังหวัดสุราษฎรธานี และชาวต่างชาติ 1 ราย เป็นชาวเบลเยี่ยม อายุ 67 ปี ขณะนี้
รักษาอาการอยู่ในโรงพยาบาลที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อที่พบในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 212 ราย
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอมาตรการเพิ่มเติมในเรื่องการ
ดูแลภาคประชาชน หรือสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใน
สัปดาห์หน้า
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความ เรื่อง "ผลกระทบวิกฤติโควิด-19 กับเศรษฐกิจโลก : This
Time is Different" ว่าผลกระทบครั้งนี้ คาดว่าจะมากกว่าในกรณีของการระบาด 3 ครั้งใหญ่ ได้แก่ โรคซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ 2009
และโรคเมอร์ส
  • ประธานสมาคมธนาคารไทย และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งหารือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณา
มาตรการเพิ่มเติมในการช่วยเหลือลูกค้าและลูกหนี้ เนื่องจากมองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจยืดเยื้อและ
มาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะยังไม่เพียงพอ
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย ได้ทบทวนอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign
Currency - IDR) ของประเทศไทยสู่ระดับมีเสถียรภาพ จากระดับเชิงบวก พร้อมกับคงอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB+
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะทรุดตัว
ลงสู่ระดับต่ำกว่า 3% ในปีนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ