ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.57 อ่อนค่าเล็กน้อยจากวานนี้ หลังดอลล์แข็งขานรับสัญญาณความร่วมมือกระตุ้นศก.

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 20, 2020 09:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.57 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.53 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก หลังมีสัญญาณความร่วมมือใน การกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด-19

"เงินบาทอ่อนเล็กน้อยหลังมีสัญญาณความร่วมมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19" นักบริหารเงิน
กล่าว

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 32.50 - 32.70 บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาดู สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

THAI BAHT FIX 3M (19 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.61152% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.59802%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 111.15 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0669 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.6500 บาท/ดอลลาร์
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการ 13 สาขา
อาชีพท่องเที่ยวทั่วประเทศ จนได้ข้อสรุปออกมาเป็นมาตรการเร่งด่วน3 ข้อ คือ การป้องกันให้ผู้ประกอบการงดหรือลดกิจกรรมทางท่อง
เที่ยว 15-30 วันและดำเนินกิจกรรมตามมาตรการอื่นที่รัฐบาลกำหนด ต่อมาคือการเยียวยา และหารือกับภาครัฐเพื่อออกมาตรการเยียวยา
ผู้ประกอบการและพนักงานที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนเพื่อลดผล กระทบที่คาดว่าจะสูญเสียรายได้ท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท
และจะมีผู้ถูกเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน และสุดท้ายต้องเร่งฟื้นฟูเมื่อควบคุมวิกฤติได้แล้ว
  • สภาอุตสาหกรรมฯ ชงรัฐตั้งกองทุน 1 แสนล้านบาท ต่อลมหายใจเอสเอ็มอี หลังโควิด-19 ทุบความเชื่อมั่นอุตฯ ดิ่งสุด ให้
กู้เงินหรือออกพันธบัตรระดมจากประชาชน พร้อมแนะผ่อนปรนเงื่อนไขมากกว่าเก่า เสนอกันเงิน 2 หมื่นล้านพัฒนาแรงงานกรณีตกงานที่คาด
สูงถึง 1 ล้านคน
  • ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หากรัฐบาลประกาศปิดประเทศ
เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยเสียหายเดือนละ 240,000 ล้านบาท หรือวันละ
8,000 ล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายจากนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเข้ามาในไทยได้เดือนละ 180,000 ล้านบาท หรือวันละ 6,000
ล้านบาท และผลกระทบจากการค้าชายแดนต้องหยุดชะงักเดือนละ 60,000 ล้านบาท หรือวันละ 2,000 ล้านบาท แต่การจะปิดประเทศ
หรือไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล และต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนมากกว่าเศรษฐกิจ
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จัดการประชุมฉุกเฉินเมื่อคืนนี้ โดย BoE มีมติเอกฉันท์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
0.15% สู่ระดับ 0.10% จากระดับ 0.25% เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกพุ่งขึ้น 70,000 ราย สู่ระดับ
281,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. 2560 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 220,000 ราย โดย
การพุ่งขึ้นของตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานมีสาเหตุจากการที่ภาคธุรกิจแห่ปลดพนักงาน ท่ามกลางผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโค
วิด-19
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผยได้ร่วมมือกับธนาคารกลางของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บราซิล เดนมาร์ก เม็กซิโก นอร์
เวย์ สวีเดน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ในการเพิ่มสภาพคล่องของดอลลาร์ทั่วโลกผ่านทางการทำข้อตกลงสว็อประหว่างธนาคารกลางดัง
กล่าว โดยข้อตกลงสว็อปดังกล่าวจะมีอายุ 6 เดือน
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ หลังธนาคารกลางหลายแห่งดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อรับมือ
กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.)
เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ในช่วงเวลาที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
  • นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์ถือเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เช่น ยูโรและปอนด์ ท่าม
กลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อลดผล

กระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนราคาทองคำฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่ทรุดตัวลงกว่า 3% เมื่อวันพุธที่

ผ่านมา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ