ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 32.83/85 อ่อนค่าต่อเนื่อง คาดสัปดาห์นี้เงินบาทมีโอกาสแตะ 33 บาท/ดอลลาร์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 31, 2020 16:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.83/85 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 32.65/66 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อจากช่วงเช้า ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่อง จากยังมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเมื่อสถานการณ์มีควมเสี่ยงมากขึ้น จึงทำให้นักลงทุนต้องการถือเงิน สดไว้ในมือมากขึ้น โดยเฉพาะสกุลดอลลาร์สหรัฐ

"เงินบาทยังอ่อนค่าต่อ เพราะยังเป็นห่วงต่อปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19...พอความเสี่ยงมาก คนก็อยากถือเงิน สดไว้ในมือ" นักบริหารเงินระบุ

โดยสัปดาห์นี้ เงินบาทมีโอกาสจะแตะระดับ 33.00 บาท/ดอลลาร์ได้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 33.00 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 32.8550 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.47/48 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.56/58 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0988/0989 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1012/1015 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.63 หดตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดย
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวสูง
นอกจากนี้การส่งออกและการนำเข้าสินค้าได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากมาตรการปิดเมืองของจีน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่อง มี
เพียงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้จากการเร่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น ทั้งนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หดตัวทำให้การผลิตภาค
อุตสาหกรรมและการลงทุนภาคอกชนหดตัวสอดคล้องกัน

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากเดือนก่อน จากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ลดลงมา แม้รายรับจาก ภาคการท่องเที่ยวจะลดลง ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ

  • ธปท. ระบุว่า จากประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 ที่คาดว่าจะหดตัว -5.3% นั้น ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะติด
ลบทุกไตรมาส และจะหดตัวมากสุดในไตรมาส 2 จากนั้นการหดตัวจะเริ่มน้อยลงในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักมาจาก
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่คาดว่าจะหายไปมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 จากผลของมาตรการที่เข้มข้นในการป้องกันการแพร่ระบาด
ของไวรัสโควิด-19 แต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นกลับมาได้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้
  • สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ปรับมุมมองทางเศรษฐกิจไทย จากเดิมขยายตัว 1.7% เป็นหดตัว 6.4%
ตามภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2/63 และน่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง แต่หาก
สถานการณ์เลวร้ายไปอีก เศรษฐกิจไทยคงเข้าสู่ภาวะวิกฤตตามเศรษฐกิจโลก เพราะมีความเสี่ยงเติบโตช้าจากปัญหาสงครามการค้า ภัย
แล้ง และงบประมาณล่าช้า ก่อนจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) อัดฉีดเงิน 2 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบการเงินใน
วันนี้ ผ่านทางข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน โดยให้อัตราดอกเบี้ย 2.2% ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะ
รักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้อยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม
  • หนึ่งในคณะกรรมการบริหารด้านนโยบายของธนาคารกลางจีน มองว่าจีนไม่ควรกำหนดเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีความไม่แน่นอนอย่างมาก ในขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากคาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 2% หรือแม้กระทั่ง 1% การ
กำหนดเป้าหมายที่ไม่อิงตามปัจจัยที่แท้จริงนั้น อาจจะถ่วงรั้งนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ และส่งผลให้มีการใช้มาตรการออกมา
มากมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ