ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.98 อ่อนค่าจากช่วงเช้าตามทิศทางภูมิภาค รอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 1, 2020 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.98 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ ระดับ 32.80 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 32.74-33.04 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้เงินบาทวิ่งค่อนข้างกว้าง แต่ก็เคลื่อนไหวไปตามสกุลในภูมิภาค เข้าใจว่ามีการหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงจากผลกระทบ ของสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)"นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับวันพรุ่งนี้ให้กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทระหว่าง 32.90-33.10 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญคืนนี้จะมีตัว เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน เดือนมี.ค.จาก ADP

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.60 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.66 บาท/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0934 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1018 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,105.51 จุด ลดลง 20.35 จุด, -1.81% มูลค่าการซื้อขาย 67,169.04 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,985.79 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดวันนี้ พบผู้ติด
เชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 120 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดผู้ติดเชื้อรวมสะสมขณะนี้ 1,771 ราย
  • กทม.เตรียมกำหนดให้ร้านขายของทุกร้าน รวมถึงรถเข็น รถขายอาหารข้างทาง ปิดทำการทั้งหมดตั้งแต่เวลา 24.00 น.
ถึง 05.00 น.โดยให้มีผลตั้งแต่คืนวันนี้
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เตรียม
เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษในช่วงเช้าวันที่ 3 เม.ย.63 เพื่อหารือเร่งด่วน ได้แก่ การรับฟังข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ เพื่อออก
มาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระยะ 3-4 สำหรับช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค.63 และหารือเรื่องงบ
ประมาณ กรอบวงเงิน จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน รวมทั้ง แหล่งที่มาของเงิน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมี.ค.2563 พบว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 42.6
ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.1 จากภาคที่มิใช่การผลิตเป็นสำคัญ นำโดยกลุ่มขนส่งที่มีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและ
ผลประกอบการลดลงมาก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุน และการจ้างงานลดลงด้วย
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ลงเหลือ -6.9%
จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 0.8% โดยประมาณการดังกล่าว อิงสมมติฐานหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง
70% เมื่อเทียบกับปีก่อน เหลือ 12 ล้านคน 2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิมที่ 55
ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 3) ภัยแล้งมีความรุนแรงยืดเยื้อจนถึงเดือน ก.ย.จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่เดือน พ.ค.จึงคาดว่าผลกระทบจาก
ภัยแล้งจะกลายเป็น 0.7% ของ GDP จากเดิม 0.2% ของ GDP
  • บล.เอเซีย พลัส ปรับประมาณการ GDP Growth ของไทยปี 63 เป็นติดลบ 1.4% จากเดิมคาดบวก 2.8% จากการส่ง
ออกที่ชะลอตัวลง หลังมีมาตรการปิดประเทศต่างๆ และการบริโภคภาครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงการแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาครัฐ มีมาตรการสั่งปิดสถานที่ต่างๆ จึงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ
  • รัฐมนตรีกระทรวงคลังออสเตรเลียได้เรียกร้องไปยังรัฐมนตรีคลังทั่วโลกให้ดำเนินการให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพที่
สามารถควบคุมได้ระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศทำข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรชั่วคราวกับธนาคารกลางต่างชาติและหน่วยงานด้านการเงิน
ระหว่างประเทศ (FIMA repo facility) ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ คาดหวังที่จะผลักดันร่างงบประมาณมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามมาตรการรับมือของรัฐบาลในเฟสที่ 2
  • โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศพุ่ง
สูงขึ้น
  • ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้เรียกร้องทุกฝ่ายให้ใช้ความพยายามในการดูแลให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอยู่ในสภาพที่ราบ
รื่น รวมทั้งส่งเสริมภาคธุรกิจการนำเข้าและส่งออกให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น เพื่อที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าจะได้ดำเนินไปอย่าง
ปกติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ