ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.97 ระหว่างวันผันผวน อ่อนค่าแตะ 33.08 ตลาดรอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 3, 2020 17:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.97 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.90/92 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าไปแตะที่ระดับ 33.03 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทยังมีความผันผวน ซึ่งต้องจับตาดูเงินทุน เคลื่อนย้าย เนื่องจากระยะหลังพบว่าต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร พร้อมกันนี้ ต้องรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี. ค.63 ของสหรัฐ เพราะหากออกมาไม่ดี ก็จะส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่า

"ช่วงนี้บาทผันผวน ต้องดูว่าเงินทุนเคลื่อนย้าย เพระช่วงหลังๆ นี้ต่างชาติขายสุทธิตลาดบอนด์ รอดูตัวเลข Nonfarm payroll ของสหรัฐด้วย เพราะนักวิเคราะห์คาดว่าจะออกมาไม่ดี ซึ่งถ้าออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด จะทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และบาทก็จะแข็ง" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทต้นสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.42 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.93/95 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0809 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0853/0857 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,138.84 จุด เพิ่มขึ้น 0.57 จุด (+0.05%) มูลค่าการซื้อขาย 59,760 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,938.50 ลบ. (SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษในวันนี้ เห็นชอบมาตรการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจระยะ 3 ชุดใหญ่ที่ครอบคลุม
ทุกมิติในระยะ 6 เดือน มีทั้งการดูแลเยียวยาประชาชน, การดูแลเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าไม่ให้หยุดนิ่ง และการรักษาระบบ
เศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทุกอย่างสามารถเดินหน้าไปได้ ทั้งหมดนี้วงเงินที่ใช้อาจจะมีความใกล้เคียงกับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ ได้ดำเนิน
การ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของ GDP
  • ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเสนอมาตรการออก พ.ร.ก.เพื่อจัดทำโครงการ
ซอฟท์โลนพิเศษโดยตรงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยเงินของ ธปท.เอง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครงการสินเชื่อของธนาคารออมสินที่ช่วย
เหลือเอสเอ็มอีขนาดเล็ก, การออก พ.ร.ก.เพื่อจัดทำมาตรการสร้างหลังพิงให้กับตลาดตราสารหนี้เอกชนเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้,
มาตรการขยายระยะเวลาคุ้มครองเงินฝาก เสนอให้ยืดระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี, ลดการนำเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน เหลือ 0.23% ในระยะเวลา 2 ปี ให้คณะรัฐมตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการในวันที่ 7 เม.ย.นี้
  • กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดย KKP Research ปรับประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจลงอีกครั้งจาก -
2.4% เป็นลงลึกถึง –6.8% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หดตัวลึกและยาวนานยิ่งขึ้นกว่าที่เคยประเมินไว้
  • EIC ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2020 เป็นหดตัวที่ –5.6% ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1998 จากเศรษฐกิจโลกที่เข้า
สู่ภาวะถดถอย มาตรการปิดเมืองของไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้า จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3%
  • บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชี้การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ภาคการธนาคาร
ไทยอยู่ในช่วงที่วัฎจักรของธุรกิจค่อนข้างมีความท้าทายสูง ผลการดำเนินงานของภาคการธนาคารได้มีการปรับตัวอ่อนแออย่างต่อเนื่องใน
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่อง และการแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งส่งผลให้
รายได้เติบโตในระดับที่ลดลง ปัญหาของการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันอย่างมากยิ่งขึ้นต่อแนวโน้มดังกล่าวของ
ภาคการธนาคาร โดยการประกาศปิดสถานที่ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ได้ชะลอตัวลงแล้วตั้งแต่ช่วงท้ายของปี
2562 เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ความล่าช้าของงบประมาณประจำปี และภัยแล้ง ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผล
ให้คุณภาพสินทรัพย์และผลประกอบการของภาคการธนาคารปรับตัวแย่ลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับที่ฟิทช์เคยคาดการณ์ไว้
  • สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ของสหรัฐในไตรมาส 2/2563 จะลดลงมากกว่า 7% อันเนื่องมาจากภาวะชะงักงันด้านการค้าอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ยังคาดว่าอัตราการว่างงานจะสูงเกิน 10% ในไตรมาส 2/2563
  • หัวหน้าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการค้าโลก
(WTO) ได้เรียกร้องให้นานาประเทศหันมาดูแล และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-
19) ที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารโลก
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ให้กับธนาคารขนาดกลางและ
ขนาดย่อม ลง 1.00% ซึ่งเป็นความพยายามล่าสุดของแบงก์ชาติจีนที่จะให้การสนับสนุนเศรษฐกิจท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ