ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.73 แข็งค่าจากช่วงเช้า ขานรับมาตรการเยียวยาผลกระทบโควิด-19-ยอดผู้ติดเชื้อในปท.ลดลง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 7, 2020 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.73 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 32.80 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 32.73-32.91 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าจากหลายประเด็นทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ลดลงและ ครม.อนุมัติมาตรการเยียวยาทั้งของกระทรวงการ คลังและ ธนาคารแห่งประเทศไทย""นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้ระหว่าง 32.65-32.80 บาท/ดอลลาร์ โดยต้อง ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และในประเทศไทยต่อไป

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.08 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 109.02 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0882 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.0803 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,214.95 จุด เพิ่มขึ้น 76.11 จุด, +6.68% มูลค่าการซื้อขาย 98,954.92 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 525.44 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดวันนี้ว่า พบผู้ป่วย
ยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 38 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมรวม 2,258 ราย
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตรา
เงินเฟ้อ ในเดือน มี.ค.63 อยู่ที่ 101.82 ลดลง -0.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง -0.86% จากเดือน ก.พ.63 โดยใน
ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 63 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.41% จากสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นภาวะเงินฝืด
เพียงแต่อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงนี้มาจากภาวะของเศรษฐกิจถดถอย ไม่ได้เป็นภาวะเงินฝืดแบบปกติ
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาโควิด-19 ระยะ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้าน
บาท
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้มีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็น
ภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และเป็นแหล่งการจ้างงานหลักของประเทศให้มีเงินทุน และสภาพคล่องเพียงพอเพื่อดำเนินธุรกิจ
และรักษาการจ้างงานต่อไปได้ รวมทั้งต้องมีมาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อรักษาช่องทางการระดมทุนของ
ภาคเอกชนและรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จำนวนผู้มาลงทะเบียนwww.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่าสุดอยู่ที่
24.5 ล้านคน โดยประเมินว่าจะมีผู้ได้รับสิทธิ 5,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่เกิน 8 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพรับจ้าง กับค้า
ขาย และ 4 อาชีพหลั กคือ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ ผู้ค้าสลากฯ และมัคคุเทศก์
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่า สรท.คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 หดตัวไม่ต่ำกว่า -
8% และมีโอกาสหดตัวถึงตัวเลขสองหลัก บนสมมติฐานค่าเงิน 30.50 บาท/ดอลลาร์ (ณ วันที่ 6 เมษายน 2563 เท่ากับ 32.895 บาท/
ดอลลาร์ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.36-32.97 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ SCB
EASY มีฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 200,000 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ใช้งานรวมแตะ 11 ล้านราย ยอดธุรกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 135 ล้าน
รายการ/เดือน โดย 75% เป็นการโอนเงิน คิดเป็น 5.28 แสนล้านบาท (ข้อมูลเดือนมี.ค. 63) และตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค.ที่
สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เริ่มเข้มข้น
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในช่วงไตรมาส 1/63 ได้
รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามากดดันเพิ่มเติมจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้ว โดยสถานการณ์
การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ทั้งภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ทำให้
เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อลูกค้าของธนาคาร และส่งผลมาถึงธุรกิจของธนาคารในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาคาดว่าผล
การดำเนินงานจะลดลงค่อนข้างมาก
  • ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ได้อนุมัติเงินกู้ 2.485 พันล้านหยวน (ประมาณ 355
ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ยั่งยืนของจีน และจัดหาเครื่องมือและปัจจัยที่จำเป็นในช่วงเวลาที่
ไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาด
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเงินสำรองส่วนเกิน (excess reserves) สำหรับสถาบันการเงิน
โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่แท้จริง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโค
วิด-19
  • คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้อนุมัติให้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 108 ล้านล้านเยน (เกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์

สหรัฐ) ในวันนี้ ซึ่งเป็นการอนุมัติงบประมาณในวงเงินมากสุดเท่าที่เคยดำเนินมา เพื่อช่วยเหลือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ในการต่อสู้กับ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ