ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.54/59 กลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้า ตลาดไร้ปัจจัยหนุนทิศทาง คาดกรอบสัปดาห์หน้า 32.40-32.80

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 17, 2020 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 32.54/59 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง
เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.49 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าจากเปิดตลาดในช่วงเช้า แต่เป็นการเคลื่อนไหวตามแรงซื้อขายปกติ ยังไม่มีปัจจัยโดดเด่นที่มีผลต่อทิศ ทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนักในวันนี้

อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงติดตามความคืบหน้าของสหรัฐฯ ที่ออกมาระบุว่าได้ทดลองใช้ยาเรมเดซิเวียร์ เพื่อรักษาผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยหลายคนมีอาการดีขึ้น รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในพื้นที่ต่างๆ ด้วย

"วันนี้โดยรวมยังไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรมากนัก ยังมีแค่เรื่องยาและวัคซีนของสหรัฐฯ ที่ออกมาบอกว่ารักษาโควิด-19 ซึ่งคงต้อง รอดูผลการทดสอบต่อไป" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40 - 32.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.90 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.65 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0814 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0876 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,239.24 จุด เพิ่มขึ้น 39.09 จุด (+3.26%) มูลค่าการซื้อขาย 58,990 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 160.87 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองวิกฤติเศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
อาจ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าในอดีตไปอีกนาน เป็นรูป ตัว J กลับด้านจากซ้ายเป็นขวา คือ ลงลึก ฟื้นช้า และโตต่ำกว่าเดิม ชี้หากมี
การอัดฉีดงบการใช้จ่ายภาครัฐราว 4 แสนล้านบาทโดยเร็ว การบริโภคภาครัฐจะขยายตัวได้ในช่วงไตรมาส 2-4/63 ได้ราว 20% และ
จะมีส่วนให้เศรษฐกิจดีขึ้นกว่ากรณีฐานราว 2% คือหดตัวน้อยลง
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุมาตรการการคลังที่เตรียมใช้เม็ดเงินทั้งหมดราว 1 ล้านล้านบาท
โดยหวังจะสร้างตัวทวีคูณ (multiplier) ให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว จะต้องแลกมาด้วยการขาดดุลงบประมาณที่จะเร่งตัวขึ้น และ
หนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ที่อาจพุ่งแตะเพดานที่ 60% ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 3สร้างสถิติต่ำสุดในรอบ 74 เดือน จากระดับ 37.3 ในเดือนก.พ. 2563 มาอยู่ที่ระดับ 33.1 ในเดือนมี.ค. 2563
จากความกังวลของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาก ต่อประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงาน เงินออม และค่าใช้จ่าย (ไม่รวมภาระ
หนี้สิน) ซึ่งมีส่วนสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลง 6.8% ในไตรมาส
1/2563 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการหดตัวรายไตรมาสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2535 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้
ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศของจีนอย่างรุนแรง
  • ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เตรียมเงินสำหรับกองทุนช่วย

เหลือเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ไว้เพิ่มอีก 2 เท่า แตะที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการเพิ่มมากขึ้น การตัดสินใจ

ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่มีลูกค้าเข้ามาขอกู้เงินเป็นมูลค่ารวมกันเกินกว่าวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉินที่ทางธนาคารได้จัดสรรไว้จำนวน 5 พันล้าน

ดอลลาร์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ