ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.45 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า ลุ้นผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์-ตลาดหุ้นบวก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 20, 2020 17:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.45 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 32.50 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 32.44-32.52 บาท/ดอลลาร์

"ไม่ค่อยกว้างมาก แต่เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องนับจากเย็นวันศุกร์ ต้องรอดูว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นหรือ เปล่า เพราะดัชนีปรับตัวสูงขึ้นเยอะ อีกทั้งตลาดมีความหวังว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ทยอยเปิดทำการของภาคธุรกิจใน เร็วๆ นี้"นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน กล่าวว่า สำหรับวันพรุ่งนี้ให้กรอบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทระหว่าง 32.40 - 32.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.66 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.83 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0880 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.0858 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,266.40 จุด เพิ่มขึ้น 27.16 จุด, +2.19% มูลค่าการซื้อขาย 67,298.11 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,814.22 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.พลังงาน จะเสนอมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.63 ให้ที่ประชุมคณะ
รัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันพรุ่งนี้ โดยส่วนแรกจะขยายมาตรการใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับครัวเรือนขนาดเล็กที่ติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5
แอมป์ ให้ใช้ไฟฟ้าฟรีเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน จากเดิม 90 หน่วย/เดือน

ส่วนครัวเรือนที่ติดตั้งมิเตอร์ขนาดเกินกว่า 5 แอมป์ขึ้นไป จะให้ใช้ไฟฟ้าฟรีในส่วนที่เกินกว่าที่ใช้ในเดือน ก.พ.63 แต่ต้องไม่ เกิน 800 หน่วย โดยส่วนที่เกิน 800 หน่วยจะคิดปริมาณลดลง 50% และหากเกินกว่า 3 พันหน่วย จะคิดปริมาณลดลง 30% โดยจะนำ หน่วยที่ใช้ไฟฟ้าจากการคิดส่วนลดแล้วมาคำนวณค่าไฟฟ้าตามปกติ

  • ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.ก.3 ฉบับที่ดำเนินการภายใต้มาตรการระยะ 3 เพื่อดูแลเศรษฐกิจและเยียวยาผล
กระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แก่ 1. พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อ
แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

2. พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ 3. พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563

  • ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า การออกพ.ร.ก.เพื่อให้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยวงเงิน
ให้กับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ชั่วคราว มองว่าเป็น
ประโยชน์ทั้งธนาคารพาณิชย์และลูกค้า เนื่องจากธนาคารมีแหล่งเงินที่ต้นทุนต่ำเข้ามาช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบได้ ประกอบกับการที่มี
กระทรวงการคลังมาช่วยเหลือในการรับภาระหนี้บางด้วย ทำให้ความเสี่ยงของธนาคารลดลง
  • ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า พ.ร.ก.ให้อำนา
จธปท.จัดทำ Soft loan สามารถช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในตอนนี้มาตรการที่ภาครัฐออกมาจะต้องเข้า
มาช่วยเหลือในทุกภาคส่วน เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยที่ทุกคนได้รับผลกระทบด้วยกัน การที่ธปท.ออกสินเชื่อ
Soft loan มาในครั้งนี้ถือเป็นแหล่งเงินทุนให้กับธนาคารพาณิชย์นำไปช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารต่อ ซึ่งหากไม่มี
ในส่วนนี้ออกมา มองว่าอาจจะค่อนข้างลำบากในการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เองได้รับผล
กระทบไปด้วย หากลูกค้าที่ขอสินเชื่อไปไม่สามารถมาชำระหนี้ได้
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า มาตรการของ ธปท.ที่ออกมาสะท้อนถึงความพยายามและ
ความตั้งใจของทางการที่จะแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด โดยมุ่งเน้นการช่วยเสริมสภาพคล่องของระบบการเงินไทย ซึ่งการออกพ.ร.ก.เพื่อจัด
ตั้ง Soft loan ให้ธนาคารพาณิชย์นำไปช่วยลดปัญหาสภาพคล่อง และเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผล
กระทบจากไวรัสโควิด-19 และการที่กระทรวงการคลังเข้ามาช่วยแบ่งรับความเสียหายจากสินเชื่อในส่วนนี้ไปด้วย ทำให้ธนาคารพาณิชย์มี
ความมั่นใจมากขึ้นนการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารอยู่แล้ว เพราะมีความเสี่ยงที่ลดลง
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. หรือ สภาพัฒน์) เตรียมนำข้อเสนอของภาคเอกชนจากการหารือเวที
คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2
เกี่ยวกับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ และมาตรการเพื่อการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโค
วิด-19 ใน 5 กลุ่มสำคัญ โดยจะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา แบ่งเป็นข้อเสนอให้ดำเนินการในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว
ซึ่งจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบในเบื้องต้น โดยเฉพาะประเด็นข้อเสนอให้ทดลองปลดล็อค 2-3 จังหวัดในกลุ่มกิจการความเสี่ยงต่ำ
เพื่อประเมินผลก่อนขยายไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
  • โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ
วันนี้ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 27 คน ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมรวมทั้งสิ้น 2,792 คน จำนวนผู้ที่หายปวยแล้วรวมทั้งสิ้น 1,999
คน ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 746 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
  • ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า การยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการแพร่
ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แต่เป็นเพียงการเริ่มต้นของระยะต่อไป
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ เปิดเผยในรายงานวันนี้ว่า อัตราว่างงานในภูมิภาคเอเชีย

แปซิฟิกมีแนวโน้มพุ่งขึ้นกว่า 3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึง 3 เท่า เนื่องจากมาตรการเว้นระยะห่างทาง

สังคมได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการสร้างงาน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ