ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.30 แข็งค่าจากวานนี้ หลังดอลล์อ่อนจากบอนด์ยีลด์สหรัฐฯปรับตัวลง จับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 8, 2020 09:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.30 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวาน นี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.40 บาท/ดอลลาร์

"ล่าสุดแข็งค่าต่อเนื่องมาที่ 32.25 บาท/ดอลลาร์ มี 2 ประเด็นหลักคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯปรับตัวลดลง หลังการเปิดเผยตัวเลขผู้ว่างงานที่พุ่งขึ้นในสหรัฐ กับราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากว่า 30 ดอลลาร์/ออนซ์ อาจจะทำให้ผู้ค้าทองคำเร่งส่ง ออกทองคำกันเยอะ"นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับทิศทางวันนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ระหว่าง 32.20-32.35 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีตัวเลข การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวน่าจะลดลงราวๆ 22 ล้านตำแหน่ง

THAI BAHT FIX 3M (7 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.48560% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.72454%

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.23 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 106.45 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0845 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.0795 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.4470 บาท/
ดอลลาร์
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคม
ธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร. ประจำเดือน พ.ค. ได้หารือถึงจุดยืนของภาคเอกชนต่อการเข้าร่วมหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ซีพีทีพีพี ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต พบว่า มีการแสดงความเห็นหลากหลาย จึงหาข้อสรุปไม่ได้ กกร.เสนอให้
ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ให้มีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อให้ภาครัฐทราบจุดยืนที่ชัดเจนมากขึ้น
  • กกร.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยก้าวพ้นจุดต่ำสุดแล้ว หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้รัฐผ่อน
คลายให้บางธุรกิจเปิดกิจการได้มากขึ้น หากไวรัสโควิด-19 ไม่กลับมาแพร่ระบาดอีก จะทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว และกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติภายใต้ภาวะปกติใหม่ (New Normal) ประกอบกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ออกมาตรการเยียวยาที่ต้องใช้
เงินในการฟื้นฟู 20% ของจีดีพี
  • ธปท.กำชับแบงก์เร่งยื่นคำขอซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้เอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ด่วน
หลังเปิดโครงการมา 2 สัปดาห์ยอดขอน้อยแค่ 36,000 ล้านบาท ชี้หลายสถาบันการเงินยังไม่ส่งคำขอมา จี้ให้เร่งดำเนินการหากลูกหนี้ไม่
เข้าเกณฑ์ซอฟต์โลนให้หาสินเชื่ออื่นทดแทน ย้ำห้ามเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าบริการที่นอกเหนือ พ.ร.ก.กำหนด ขณะบางแบงก์ยังลังเล
หวั่นหนี้เอ็นพีแอลพุ่ง
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ทางกองทุนได้ให้การอนุมัติคำขอเงินกู้ฉุกเฉินวงเงินราว 1.8 หมื่น
ล้านดอลลาร์ สำหรับสมาชิก 50 ประเทศ จากจำนวนทั้งหมด 189 ประเทศ เพื่อรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 3.17 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.05 ล้านราย
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.)
หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่เงินปอนด์ดีดตัวขึ้นหลังจากธนาคารกลาง
อังกฤษ (BoE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย และคงวงเงินในการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเมื่อวานนี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นมายืนที่เหนือระดับ 1,700 ดอลลาร์ได้อีกครั้งเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุน
แห่ซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่
ผ่านมา อันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19
  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยใน
วันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะร่วงลง 21.5 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. และคาดว่าอัตราการ
ว่างงานจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 16%
  • ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ คาดการณ์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้ จะเป็นหนึ่ง

ในตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และคาดว่าอัตราการว่างงานอาจพุ่งขึ้นสูงกว่า 20% พร้อมกับกล่าวว่า ผล

กระทบส่วนใหญ่จากการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 จะปรากฎในไตรมาส 2


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ