ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.87/89 อ่อนค่าเล็กน้อยจากวานนี้ มองกรอบวันนี้ 31.75-31.95 จับตา Fund Flow

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 21, 2020 09:07 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.87/89 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.83 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงจากเมื่อเย็นวาน ซึ่งน่าจะเป็นผลจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารพาณิชย์ที่จะตาม มา หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่วนการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้จะไป ในทิศทางที่อ่อนค่าหรือไม่ ต้องรอดูทิศทางเงินทุนที่จะไหลเข้ามาทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรด้วย

"เช้านี้บาทอ่อนค่าไปเล็กน้อยถ้าเทียบกับเมื่อวานที่ขึ้นไปแข็งค่าสุดที่ระดับ 31.81 ทิศทางวันนี้จะอ่อนต่อหรือไม่ ต้องดูเงินทุน ไหลเข้าในตลาดหุ้น และทางฝั่ง bond ด้วย" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75 - 31.95 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (20 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.45831% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.64084%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.68/69 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 107.68 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0959 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0950 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.8780 บาท/ดอลลาร์
  • "บิ๊กตู่" สั่ง "พาณิชย์" หารือ"เกษตรฯ-สาธารณสุข" เคลียร์ประเด็นร่วม "ซีพีทีพีพี" ภายใน ส.ค.ต้องสรุปท่าทีประเทศ
ไทย ยืนยันยังไม่เสนอ ครม.อนุมัติตั้งคณะเจรจา
  • "นอนแบงก์" เบรกปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ หวั่น "โควิด" ดันหนี้เสียพุ่ง "กรุงศรีคอนซูมเมอร์" เลื่อนกลับมาให้
บริการ เหตุไม่ใช่จังหวะเหมาะสม ขณะ "เอ็นพีแอล" ของเก่ายังค้าง 11% ด้าน "ไชโย" สั่งลดวงเงิน พร้อมคุมเข้มปล่อยกู้ ชี้
สถานการณ์ยังไม่เอื้อ หวั่นเอ็นพีแอลไหลกลับในกลุ่มลูกค้าที่ปรับโครงสร้างหนี้
  • รัฐบาลอังกฤษได้ทำการออกพันธบัตรที่มีอัตราผลตอบแทนติดลบเป็นครั้งแรกในวันนี้ อายุ 3 ปี วงเงิน 3.8 พันล้านปอนด์ใน
การประมูลวันนี้ โดยมีอัตราผลตอบแทน -0.003% ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ขณะที่มีการคาด
การณ์ว่าธนาคารกลางหลายแห่งเตรียมเข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
  • รายงานการประชุมเฟดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 28-29 เม.ย.ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่กังวลว่าผลกระทบที่เกิดจากการแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนอย่างมากในระยะกลางนี้

รายงานการประชุมของเฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 อาจจะทรุดตัวลงในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่ง จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคครัวเรือนที่ประสบปัญหาด้านการเงินมากที่สุด นอกจากนี้ กรรมการเฟดยังแสดงความกังวลว่า การเลิก จ้างพนักงานแบบชั่วคราวอาจจะกลายเป็นการถาวร โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างอาจจะสูญเสียทักษะพิเศษในการทำงาน และต้องออกจาก ตลาดแรงงานในที่สุด

  • สำนักงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ โดยคาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญภาวะซบเซา โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐในไตรมาส 2/2563 จะหดตัว 38% และจะมีคนตก งานมากขึ้น 26 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่แล้ว

  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.)
หลังจากรายงานการประชุมเดือนเม.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทาง
เศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • นักลงทุนคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากรายงานการประชุม
เฟดประจำเดือนเม.ย.บ่งชี้ว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ
ไวรัสโควิด-19
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการออกมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ นอกจากนี้ กระแสความวิตกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุน
เข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,
ดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่าย
จัดซื้อ(PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จาก
Conference Board

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ