ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 31.81 แข็งค่าจากช่วงเช้าหลังดอลล์อ่อน รอดูท่าทีนโยบายปธน.สหรัฐฯที่จะดำเนินการกับจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 29, 2020 17:04 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.81 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.84/88 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยแข็งค่าสุดที่ระดับ 31.81 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.87 บาท/ดอลลาร์ ช่วงเย็นเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเช้า เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ นอกจากนี้ แรงซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าในช่วงสิ้นเดือนเริ่มหมดไปแล้ว

ทั้งนี้ ต้องจับตาดูว่าคืนนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะประกาศมาตรการเพื่อดำเนินการกับจีนอย่างไร หลังจากที่ประชุมสภา ประชาชนแห่งชาติจีน มีมติเห็นชอบให้มีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในฮ่องกงได้

"ต้องดูถึงความรุนแรงของมาตรการที่สหรัฐจะออกมาดำเนินการกับจีนว่ามากน้อยแค่ไหน รอดูท่าทีของทรัมป์ คืนนี้" นัก
บริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75-31.90 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 31.8173 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.23 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 104.30/50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1118 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1075/1095 ดอลลาร์/ยูโร
  • ศบค. ประกาศผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยมีผลกับหลายกิจการ/กิจกรรมที่
สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ หรือขยายเวลาเปิดเพิ่มขึ้น เช่น ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์, ศูนย์ประชุม, สนามพระเครื่อง, ฟิต
เนส, สนามกีฬา, สปา, นวดแผนไทย และสวนสัตว์ เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังลดเวลาเคอร์ฟิวลงเหลือ 23.00 - 03.00 น.
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย.ได้รับผลกระทบชัดเจนจากโควิด-19 อย่างชัดเจน โดย
เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเกือบทุกตัวหดตัว มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวได้ เสถียรภาพเศรษฐกิจมีความเปราะบางมากขึ้น สิ่งที่น่า
กังวลคือตลาดแรงงาน และภาคการท่องเที่ยวหดตัว 100% นอกจากนี้ การส่งออกหดตัวรุนแรงมาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่หายไปจากที่
มีการล็อกดาวน์ คาดว่าในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า การส่งออกมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น
  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค. ธปท.ยังคาดการณ์ว่าการหดตัวของเศรษฐกิจยังอยู่ระดับสูง แต่สถานการณ์อาจดีขึ้น
บ้างจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ รวมทั้งมีเงินโอนจากมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ตามโครงการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งช่วยให้มีการจับจ่าย
ใช้สอยได้เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพรวมก็ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิ.ย. ซึ่งเชื่อว่าไตรมาส 2 เศรษฐกิจไทยจะหดตัวมากสุดในปีนี้
  • ธนาคารกลางจีนเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด โดยล่าสุดได้อัดฉีดสภาพคล่องด้วยวงเงินสูงถึง 3 แสนล้านหยวน
หรือประมาณ 4.207 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ ผ่านข้อตกลง reverse repos ประเภทอายุ 7 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.2% การอัด
ฉีดสภาพคล่องล่าสุดในวันนี้ถือเป็นวงเงินสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนม.ค.ปีนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะชดเชยผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวม
ถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลและการจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้อยู่ในระดับที่
เหมาะสม
  • นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียม
ประกาศมาตรการตอบโต้จีน หลังที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) มีมติเห็นชอบให้มีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับ
ใหม่ในฮ่องกง
  • รัฐบาลฮ่องกงออกแถลงการณ์เตือนสหรัฐว่า การที่สหรัฐพิจารณาจะเพิกถอนสถานะพิเศษของฮ่องกง ซึ่งสนับสนุนให้ฮ่องกง

เป็นศูนย์กลางการเงินโลกนั้น อาจเป็นดาบสองคม ขณะเดียวกันฮ่องกงได้เรียกร้องสหรัฐให้ยุติการแทรกแซงกิจการภายในของฮ่องกง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ