ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.95 แข็งค่าต่อเนื่องจากเปิดตลาดเช้า รับเม็ดเงินไหลเข้าหนุน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 11, 2020 17:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.95 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 31.05 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.83-31.12 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทาง ไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ และแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออก

"ช่วงเช้าบาทแข็งค่าต่อเนื่องจนหลุด 31 บาท/ดอลลาร์ลงมา เพราะมี flow ไหลเข้า ระหว่างวันบาทลงไปทำนิวโลว์ที่ ระดับ 30.83 บาท/ดอลลาร์ ทำให้เกิด panic sale จากผู้ส่งออก บาทก็เริ่มอ่อนค่า ประกอบกับเป็นจังหวะที่นักลงทุนหันกลับไปถือครอง ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 30.90-31.05 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 106.96 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.94 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1382 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1390 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,396.77 จุด ลดลง 22.00 จุด, -1.55% มูลค่าการซื้อขาย 82,892.56 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 738.84 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า ไม่
พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศ
  • รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอีกครั้งว่า เรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเป็นคนดูแลอย่าง
ใกล้ชิด ซึ่งกระทรวงการคลังจะมีการหารือกับธปท.ซึ่งปกติก็หารือกันอยู่แล้ว ส่วนแนวโน้มระยะต่อไปคงบอกไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร หน่วย
งานที่รับผิดชอบต้องดูแลเพื่อให้สถานการณ์ค่าเงินบาทไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ธปท.รู้อยู่แล้วว่า
จะต้องดูแลอย่างไร เพื่อให้ทิศทางค่าเงินบาทสอดคล้องกับการฟื้นฟูของประเทศ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลใน
ภูมิภาค โดยนับตั้งแต่สิ้นเดือน พ.ค. ถึงปัจจุบัน (11 มิ.ย. 63) เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น 2.71% รองจากเงินรูเปียของอินโดนีเซีย และ
เงินวอนของเกาหลีใต้ สาเหตุหลักมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ส่งผลให้เงินทุกสกุลในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ
ดอลลาร์ สรอ. สำหรับเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเงินไหลกลับของนักลงทุนที่เป็นทั้งนักลงทุนไทยและกองทุน
ต่างๆ ที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศในช่วงก่อนหน้า ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรในเดือน
มิถุนายน แต่ยังไม่มาก
  • ธนาคารกรุงไทย คาดผลการดำเนินในไตรมาส 2/63 มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาส 1/63 เนื่องจากเป็นไตรมาสที่รับผล
กระทบจากโควิด-19 เข้ามาเต็ม เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/63 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรายได้ของธนาคาร โดยเฉพาะรายได้จากดอกเบี้ย
หลังจากมีมาตรการการพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าเพื่อช่วยเหลือช่วงวิกฤตโควิด-19 อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงมาต่ำ
ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้จากดอกเบี้ยรับของธนาคารลดลงตามไปด้วย
  • เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการ
บริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มี นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เป็นประธานว่า ภาพรวมการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศ (FDI) ในปีนี้คาดว่าจะชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก่อนจะปรับฟื้นขึ้น
ในต้นปีหน้า หลังจากเจอวัคซีนโควิด-19 ดังนั้นประเทศไทยจะมีเวลา 6-9 เดือนหลังจากนี้ในการสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้า
มา แม้ว่ากระบวนการลงทุนจะยังไม่ลื่นไหลจนกว่าจะเจอวัคซีน แต่ก็เพื่อช่วยรักษาทิศทางการลงทุนของประเทศ
  • รัฐมนตรีฝ่ายการพัฒนาเศรษฐกิจและพาณิชย์ของฮ่องกงกล่าวว่า เศรษฐกิจฮ่องกงจะสามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ
และยังคงอยู่ในทิศทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นและมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง แม้ว่ามาตรการต่างๆ ที่
สหรัฐนำมาใช้กับฮ่องกงแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะใกล้นี้ก็ตาม
  • องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ระบุในรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุดว่า การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 100 ปี และหน
ทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่แน่นอน รวมทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดรอบสอง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ