ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 31.01 อ่อนค่าตามตลาดโลกวิตกโควิดรอบสอง,จับตาถ้อยแถลง ปธ.เฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 15, 2020 09:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.01 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวัน ศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.97/99 บาท/ดอลลาร์

"บาทอ่อนค่าตามตลาดโลก ตลาดกลับมากังวลสถานการณ์โควิด-19 อีกครั้ง หลังจีนรายงานพบผู้ติดเชื้อในประเทศ หลัง จากเว้นระยะไปนานนับเดือน"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.95 - 31.10 บาท/ดอลลาร์

สัปดาห์นี้มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเจรจา Brexit ระหว่างนายกรัฐมนตรีอังกฤษ, ประธานคณะมนตรียุโรป (EU) และ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของ EU เพื่อรื้อฟื้นการเจรจาที่ได้หยุดชะงักลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต ระหว่างอังกฤษและ EU

รวมทั้ง ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมแถลงนโยบายรอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้, ผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

THAI BAHT FIX 3M (12 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.41776% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.52559%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.30 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ (12 มิ.ย.) ที่อยู่ที่ระดับ 107.49/53 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1253 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ (12 มิ.ย.) ที่อยู่ที่ระดับ 1.1319/1322 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.9510 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับ 15-19 มิ.ย. ที่ 30.70-31.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ
โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สุนทรพจน์ของประธานเฟด ผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางอังกฤษ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจ
ของเฟดฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย. ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อ
สร้างเดือนพ.ค. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามสัญญาณการระบาดซ้ำของโควิด-19
และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย
  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 30) ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ให้ขยาย
ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน พ.ศ.2563 นั้น
โดยที่สมควรผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็น
ช่วงที่ 4 ต่อเนื่องจากการผ่อนคลายที่ดำเนินมาก่อนแล้วเป็นลำดับ ทั้งนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามมาตรฐานสากลอย่าง
เคร่งครัด โตยเฉพาะการสวมหน้กากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม และการยอมรับระบบติตตามตัวผ่านแอปพลิเค
ชั่นทางโทรศัพท์มือถือ
  • คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) แถลงในวันนี้ว่า ณ วันอาทิตย์ที่ 14 มิ.ย. จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ราย
ใหม่เพิ่ม 49 ราย โดยเกิดจากการติดเชื้อภายในประเทศ 39 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 10 ราย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนวันศุกร์ (12 มิ.
ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งถือเป็นสกุลเงินปลอดภัย และมีสภาพคล่องสูง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาด
รอบสองของโรคโควิด-19 ในสหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดในแดนลบเมื่อคืนวันศุกร์ (12 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขายทองซึ่งเป็นสินทรัพย์
ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นกว่า 400 จุด ขณะที่การแข็ง
ค่าของดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น กดดันราคาทองลงด้วย
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันที่ 16
มิ.ย. และต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาถ้อยแถลง
เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ, ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่
มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
  • นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่
พุ่งขึ้นในหลายรัฐ ซึ่งรวมถึงรัฐอริโซนา, เซาท์ แคโรไลนา และเท็กซัส หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ