ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.95 ระหว่างวันแกว่งแคบตามแรงซื้อขาย ตลาดรอดูข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ คืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 1, 2020 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 30.95 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.96 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 30.90-30.99 บาท/ดอลลาร์

"ยังเป็นไปตามแรงซื้อแรงขาย เข้าใจว่าตลาดรอข้อมูลสำคัญที่จะออกมาในคืนนี้ ทั้งดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.จากสถาบัน จัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการ ประชุมวันที่ 9-10 มิ.ย., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP"นักบริหารเงินระบุ

ดังนั้น จึงยังประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 30.85 - 31.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.52 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1205 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1237 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,349.44 จุด เพิ่มขึ้น 10.41 จุด, +0.78% มูลค่าการซื้อขาย 53,380.74 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,317.26 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 63
ลงมาเป็น -8.0 ถึง -5.0% (จากเดิม -5.0 ถึง -3.0%) แม้ในเดือน พ.ค.และ มิ.ย. ภาครัฐจะทยอยคลายล็อกให้กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจกลับมาเปิดดำเนินการ แต่เครื่องชี้เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะหดตัวจากกำลังซื้อที่อ่อนแอของครัวเรือนและภาคธุรกิจ ส่งผล
ต่อบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ

ขณะเดียวกันการส่งออกและการท่องเที่ยวยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยและสถานการณ์โควิด-19 ในต่าง ประเทศที่ยังไม่ยุติ จึงได้ปรับลดกรอบประมาณการการส่งออกปีนี้มาเป็น -10.0 ถึง -7.0% (จากเดิม -10.0 ถึง -5.0%) และปรับลด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมาที่ -1.5 ถึง -1.0% (จากเดิม -1.5 ถึง 0.0%)

นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร. มีความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่เร็วกว่าสกุลเงินภูมิภาคในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และยังมีความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในระยะข้างหน้า จากเงินดอลลาร์ฯ ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ อ่อนแอกว่าคาดและการดำเนินนโยบายอัดฉีด QE ของสหรัฐฯ

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมิ.ย.63 พบว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 38.5
ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 34.4 ในเดือนพ.ค.63 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้น
มาอยู่เหนือระดับ 50
  • ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารพาณิชย์ยังคงเร่งเดินหน้า
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการรักษาความเข้มแข็งของ
ระบบสถาบันการเงินในภาพรวม ขณะที่ปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนในระดับสูง และเกินกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้น
ต่ำของ ธปท.ที่ 11.0% (ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ 8.5% และ Conservation Buffer ที่ 2.5%) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ
Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ที่ 10.5% โดย ณ เดือนเม.ย.63 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุน
ชั้นที่ 1 อยู่ที่ 2.19 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.84% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง และเงินกองทุนทั้งสิ้นอยู่ที่ 2.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัด
ส่วน 18.90% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
  • นายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.
ศ. 2564 ที่มีวงเงินรายจ่าย 3.3 ล้านล้านบาท ประมาณการรายได้สุทธิ 2.67 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(GDP) ของไทยในปีนี้ที่หดตัว -5 ถึง -6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อหดตัวตามราคาพลังงาน
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยบทความในวันนี้ระบุว่า จีนจะไม่เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อหรือเงินฝืดในระดับสูง เนื่อง
จากเศรษฐกิจของจีนกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวระบุว่า เนื่องจากจีนปฎิบัติต่อฮ่องกงด้วยนโยบาย "หนึ่งประเทศ หนึ่ง
ระบบ" สหรัฐก็จะปฎิบัติดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน พร้อมเสริมว่า นโยบาย "หนึ่งประเทศ สองระบบของจีน" ซึ่งใช้เป็นรากฐานในการ
ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างฮ่องกงและสหรัฐนั้น จะไม่สมบูรณ์อีกต่อไป อันเนื่องมาจากกฎหมายความมั่นคง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ