ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.20 ระหว่างวันผันผวนตามภูมิภาค ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 7, 2020 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 31.20 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.06 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.035-31.21 บาท/ดอลลาร์

"ช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่าจากปัจจัยของจีนและสหรัฐฯ แต่ตั้งแต่หลังเที่ยงเป็นต้นมาอ่อนค่าตามภูมิภาค เข้าใจว่ามีดีลใหญ่ซื้อ ดอลลาร์ทำให้เงินบาทเด้งขึ้นเร็วมาก...แต่ภาพรวมยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ๆ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทระหว่าง 31.15 - 31.30 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีตัวเลข ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค. แต่ไม่น่าจะมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องติดตาม สถานการณ์โควิด-19 ของสหรัฐฯต่อไป

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.715 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.31 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.12715 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1317 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,373.22 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด, +0.07% มูลค่าการซื้อขาย 81,868.19 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,418.51 ลบ.(SET+MAI)
  • ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก ปรับลดคาดการณ์ส่งออกในปีนี้หดตัว -
10% จากเดิมหดตัว -8% เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ตลาดส่งออกในหลายประเทศล็อกดาวน์
และปัญหาเงินบาทแข็งค่า หลังจากภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- พ.ค. 63 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 97,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -
3.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

สรท.จะทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาเรื่องเงิน บาทแข็งค่าเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 34.00 บาท/ดอลลาร์ ถึงแม้ขณะ นี้เงินบาทจะอยู่ที่ 31.12 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปีก่อนก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาเงินบาทปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วกว่าประเทศเพื่อน บ้านจนส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 2563 เนื่องจาก
เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการพัก
ชำระหนี้ ส่งผลทำให้ระดับหนี้ไม่ลดลงมากตามภาพเศรษฐกิจ
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2
เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ธนาคารเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ประชาชนยังคงเผชิญ
อยู่ ด้วยเหตุนี้จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ครอบคลุมลูกค้าบัตรเครดิต ลูกค้าสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ ลูกค้าสินเชื่อเพื่อ
ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน โดยเน้นการปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป การเพิ่มวงเงิน และมาตรการขั้นต่ำ
เพิ่มเติม
  • ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence
Index) ประจำเดือน ก.ค.63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น 4% อยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเหมือนเดือนก่อน นัก
ลงทุนคาดหวังการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือนโยบายภาครัฐ และการไหลเข้าออกของเงินทุน
  • ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เล็งจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย/เช่าที่ดินในพื้นที่นิคม
อุตสาหกรรมของ กนอ. เพื่อจูงใจนักลงทุนให้หันมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยแต่ละโปรโมชั่นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรม
ซึ่งนอกจากจะสามารถจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเดิมซึ่ง
ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 57.1 ใน
เดือนมิ.ย. จากระดับ 45.4 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการที่หลายรัฐเริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากที่ต้องล็อก
ดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะปรับเปลี่ยนการประชุมประจำปีในเดือนต.ค. เป็นการ

ประชุมทางออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ