ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 31.61 อ่อนค่าตามแรงซื้อดอลลาร์-กังวลโควิด มองกรอบ 31.45-31.65

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 14, 2020 17:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.61 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่องจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 31.44/50 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์จากภาคธุรกิจ และความกังวลจะเกิดการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ระลอกสองในประเทศไทย ซึ่งนักลงทุนยังไม่เชื่อมั่นว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวระหว่าง 31.43-31.61 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดในรอบ 5 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ตามแรงซื้อดอลลาร์ของภาคธุรกิจและความกังวล เรื่องโควิด-19 ขณะที่ภูมิภาคอ่อนค่าเหมือนกันแต่น้อยกว่าเรา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 31.45-31.65 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 107.37 บาท/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 107.10/30 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1354 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1330/1360 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,341.07 จุด ลดลง 1.30 จุด, -0.10% มูลค่าการซื้อขาย 63,991.66 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 265.69 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ศบค.ทบทวนมาตรการผ่อนคลายกรณีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และกำชับให้
กิจการและกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับการผ่อนคลายให้เปิดทำการแล้วทั้งหมดเข้มงวดกับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อไม่ให้การ์ด
ตก
  • ศบค.จะทบทวนการผ่อนคลายมาตรการกักกันของบุคคลในคณะทูต โดยเฉพาะคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคล
ดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกการอนุญาตการบินเข้าของกองทัพอากาศอียิปต์ที่อนุญาตแล้วและกำลังจะ
อนุญาต 8 เที่ยวบิน (17-20 และ 25-29 ก.ค.63)
  • ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะหดตัว -8.1% แนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ว่าจะหดตัว -5.3% เนื่อง
จากการแพร่ระบาดของโควิด อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 63 มีแนวโน้มติดลบ -1.7% มากกว่าคาดว่าจะติดลบ -1.0% แต่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายใน
ช่วงปี 64 ส่วนประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงและโน้มไปด้านต่ำ โดยคาดว่าเศรษฐกิจใน
ปี 64 จะขยายตัว 5.0% และเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 0.1%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงินรอบล่าสุดวันนี้เป็นวันแรก และจะแถลงผลการประชุมในวัน
พรุ่งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า BOJ จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นนพิเศษ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผล
กระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี (Destatis) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้นสอดคล้อง

กับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยได้แรงหนุนจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาผู้บริโภคเยอรมนีเดือนมิ.

ย.เพิ่มขึ้น 0.6% เทียบรายเดือน และเมื่อเทียบเป็นรายปี ราคาผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้น 0.9% หากคำนวณตามมาตรฐานของ

เยอรมนี และ 0.8% หากเทียบกับมาตรฐาน EU


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ