(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.01 ทรงตัวจากวานนี้ ให้กรอบเคลื่อนไหววันนี้ 30.95-31.10 ตลาดรอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 6, 2020 11:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.01 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานที่ระดับ 31.00 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากยังขาดความชัดเจนเรื่องมาตรการการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

"บาททรงตัวรอปัจจัยใหม่ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในตลาดโลก" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 30.95-31.10 บาท/ดอลลาร์ วันนี้อาจมีแรงเท ขายดอลลาร์จากผู้ค้าทองคำเป็นปัจจัยหนุนให้บาทแข็งค่าได้

THAI BAHT FIX 3M (5 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.35654% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.39818%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.07250 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 105.55 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 105.74 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1869 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1855 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.0080 บาท/ดอลลาร์
  • "ทองคำ" ทำสถิตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทะลุ 3 หมื่นบาทต่อบาททองคำ หลังทองคำโลกพุ่ง 2 พันดอลลาร์ต่อออนซ์ กังวล
เงินเฟ้อพุ่ง-โควิดระบาดลากยาว "นายกสมาคมค้าทองคำ" ชี้ราคามีโอกาสขึ้นต่อ เหตุ แรงซื้อกองทุนทองคำรายใหญ่ของโลกเข้ามาต่อ
เนื่อง "วายแอลจี" ลุ้นแตะ 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  • "ซีไอเอ็มบีไทย" เผยโควิด-19 กระทบธุรกิจเร่งปิดกิจการ ควบรวมกิจการและขายกิจการเพิ่ม ชี้มูลค่าดีลหลักพันถึงสอง
หมื่นล้านบาท คาดปีหน้าเพิ่มขึ้นต่อหนุนยอดปล่อยกู้รายใหญ่โต 7-9%
  • สคร.ตามติดเบิกจ่ายงบลงทุน 44 รัฐวิสาหกิจ เร่งเดินหน้าตามแผน หวังลดผลกระทบโควิด-19 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ชี้ 'รฟท.-ทอท.-กทพ.' เบิกจ่ายต่ำ ด้านคลังเปิดตัวเลขจัดเก็บรายได้ 8 เดือน วืดเป้า 1.89 แสนล้านบาท 3 กรมภาษียอดร่วงหนัก
  • เอกชนท่องเที่ยวชงรัฐ ตั้งกองทุน 1 แสนล้าน เยียวยาท่องเที่ยว พยุงก่อนปิดกิจการ เลิกจ้าง ผ่าทางตันกู้แบงก์ยาก จี้รัฐ
หนุนลดต้นทุน ขยายพัก เงินต้น ดอกเบี้ย-ลดค่าน้ำ ไฟ-อุ้มแรงงาน 4 ล้านคน ด้าน "ททท." หั่นปรับรายได้รวมท่องเที่ยวปี 63 ต่ำล้าน
ล้าน เหลือ 7.5 แสนล้าน
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 58.1 ใน
เดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว จากระดับ 57.1 ในเดือนมิ.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ
55.0
  • ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้น
สุดท้ายของสหรัฐ ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 50.0 ในเดือนก.ค. จากระดับ 47.9 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าดัชนี PMI ภาคบริการของ
สหรัฐเริ่มมีเสถียรภาพ หลังจากหดตัวติดต่อกัน 5 เดือน
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 7.5% สู่ระดับ 5.07 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.
ย. โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกพุ่งขึ้น 9.4% สู่ระดับ 1.583 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2558
ส่วนการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 4.7% สู่ระดับ 2.089 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.
  • ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น
เพียง 167,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1 ล้านตำแหน่ง และต่ำกว่าอย่างมากจากระดับ 4.314
ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย.
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินเนอาโพลิส กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะได้รับประโยชน์ หากรัฐบาลสหรัฐ
ประกาศล็อกดาวน์ประเทศอย่างสิ้นเชิงเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 ส.ค.)
หลังจากมีรายงานว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากความกังวล
เกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในสหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮอย่างต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (5 ส.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์
ทำให้ราคาทองคำมีความน่าดึงดูดมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนเกี่ยวกับความหวังในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่
ของสหรัฐ
  • นักลงทุนจับตาธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย และตัวเลขจ้างงานนอก
ภาคเกษตรของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ