ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.25/27 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังเฟดประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินครั้งสำคัญ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 28, 2020 09:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.25/27 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็ก น้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.23 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยจากเย็นวาน หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการ เงินที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงแนวทางกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

"ปัจจัยอื่นวันนี้ คงไม่มีอะไรสำคัญมากแล้ว เงินบาทคงเคลื่อนไหวในกรอบ เพราะตลาดรับรู้ประเด็นการกล่าวสุนทรพจน์จาก ประธานเฟดที่เพิ่งออกมาเมื่อคืนนี้แล้ว" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.20-31.30 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (27 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.38144% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.42438%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.76/79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 105.99 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1828/1832 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1822 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.2590 บาท/ดอลลาร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เตรียมขยายเวลาเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีภาษี 2563 หลังจากเจ้าของที่ดินบาง
รายไม่ได้รับใบประเมินภาษี ยืนยันไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง สั่งขยายกำหนดเวลาชำระภาษีออก
ไปแล้วจากเดิมสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2563
  • "สุริยะ" ดันแผนศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าปี 2573 ผลิตให้ได้ 30% ของจำนวนผลิตทั้งหมด เตรียมหารือ "คลัง"
หนุนรถเก่าแลกลดภาษีไม่เกิน 1 แสน "บีโอไอ" เตรียมหารือเพิ่มมาตรการส่งเสริมการลงทุน กฟภ.ตั้งเป้าปี 65 สร้างปั๊มชาร์จ 137
แห่ง ทั่วประเทศ กฟน.เล็งทดสอบ ใช้รถอีวีในสำนักงาน เชื่ออัตราค่าไฟหนุนใช้รถอีวี
  • ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเตือนว่า ยุโรปกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่สำคัญในการ
ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสัน โฮลเมื่อวานนี้ ในหัวข้อ "Navigating the
Decade Ahead: Implications for Monetary Policy" โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้ประกาศการปรับเปลี่ยน
นโยบายการเงินครั้งสำคัญ โดยเฟดจะเปลี่ยนแปลงแนวทางในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยจะเปิดทางให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้นมากกว่า
เดิมเพื่อสนับสนุนตลาดแรงงาน และเศรษฐกิจสหรัฐ

การประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในวันนี้ ส่งผลให้เฟดมีแนวโน้มน้อยลงที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่ออัตราว่างงานลด ลง ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อไม่ได้ดีดตัวขึ้น

  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกแถลงการณ์ ระบุว่า FOMC มีมติเป็น
เอกฉันท์ในการอนุมัติการปรับยุทธศาสตร์นโยบายการเงินและเป้าหมายในระยะยาว เป็นผลมาจากการทบทวนกรอบนโยบายการเงินของ
เฟดที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วงต้นปี 2562 ในความพยายามที่จะรับมือกับความท้าทายใหม่ๆที่เกิดจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลายาว
นาน
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำ
ไตรมาส 2/2563 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลง 31.7% ซึ่งเป็นการหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ที่สหรัฐเริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดัง
กล่าวในปี 2490 หรือกว่า 70 ปีก่อนหน้านี้ หลังจากหดตัว 5% ในไตรมาส 1
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 1.006 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว สอด
คล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากมีการรายงานจำนวน 1.104 ล้านรายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ส.ค.) หลัง
จากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศเปลี่ยนแปลงแนวทางในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ในการ
ประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวานนี้ ซึ่งจะปูทางให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (27 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากนายเจอโรม พา
วเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวานนี้ โดยนักลงทุน
มองว่า ถ้อยแถลงของนายพาวเวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อนั้น เป็นไปตามที่
ตลาดคาดการณ์เอาไว้แล้วก่อนหน้านี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยในวันนี้ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ค., สต็อก
สินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ