ZoomIn: เอกชนมองคุมราคาเหล็กไม่แก้ปัญหา แนะปรับเกณฑ์ค่า K-ยกเลิกกำแพงภาษีชั่วคราว

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 30, 2021 13:55 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มวัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่ราคาเหล็กทั่ว โลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาเหล็กในประเทศไทย แต่การที่รัฐบาลมีแนวโน้มจะแก้ปัญหาด้วยการควบคุมราคาเหล็ก ไม่น่าจะเป็นการ แก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะการที่ราคาเหล็กสูงขึ้นไม่ได้เกิดจากการกักตุนหรือเก็งกำไร แต่เป็นผลกระทบจากภาวะตลาดโลก ประกอบกับ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า ผู้ประกอบการคงไม่สามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกลงทั้ง ๆ ที่ต้นทุนสูงขึ้นได้

ปัญหาด้านการนำเข้าและส่งออกของอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือรถยนต์ นาย วิกรม มองว่าไม่ส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากหลายๆ อุตสาหกรรมมีการปรับตัวตามราคาวัตถุดิบมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่อาจจะมีผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับงานไปแล้วแต่ราคาเหล็กปรับขึ้นหลังจากนั้น ซึ่งมองว่าทางภาครัฐสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยการปรับค่า K

สำหรับสถานการณ์ราคาเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เป็นการทยอยปรับขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว จากที่หลายโรงงานหยุดประกอบ กิจการจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ ช่วงก่อนหน้านี้ประเทศจีนมีการส่งออกเหล็ก จำนวนมาก เนื่องจากมีส่วนเกินกำลังการผลิตในประเทศ แต่จากการที่เศรษฐกิจจีนไม่ได้หดตัวมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้น ความต้องการเหล็กจึงยังคงสูง จีนจึงหันมากลายเป็นผู้นำเข้าเหล็กราคาถูก เช่น เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (แผ่นเหล็ก, เหล็กรีดร้อน) ส่งผล กระทบให้ราคาเหล็กทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

นายวิกรม คาดว่า ปัญหาขาดแคลนเหล็กคงไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเหล็กเป็นหนึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) หากมองในด้าน ของผู้ผลิตได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยต้องปรับตัวอย่างกระแสเงินสดที่เคยมีอยู่จะต้องมีการใช้อย่างรัดกุมมากขึ้น เนื่องจาก สามารถซื้อวัตถุดิบได้จำนวนน้อยลง อย่างไรก็ตาม การที่ราคาเหล็กพุ่งสูงขึ้นก็อาจเป็นประโยชน์ของผู้ค้าที่ซื้อกักตุนสินค้าไว้แล้ว ซึ่งจะ สามารถขายสินค้าได้กำไรมากขึ้น

นางสาววรดา แจ้งบางสะแก นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/63 ของปีที่แล้ว โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ทั้ง วัตถุดิบเหล็กสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูป

ทั้งนี้มาจากปัจจัยหลักมาจากการขาดแคลนสินแร่เหล็กของประเทศจีน สืบเนื่องจากปัญหากับประเทศออสเตรเลีย ทำให้ทาง ออสเตรเลียไม่ส่งสินแร่เหล็กให้แก่จีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการในประเทศจีนที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่ ซัพพลายตึงตัวจากการขาดสินแร่เหล็ก

อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาวัตถุดิบจะสามารถปรับลดลงได้บ้าง เนื่องจากประเทศจีนกันไปติดต่อซื้อขายกับทางอเมริกาใต้ อย่างบราซิลแทน แต่ราคาอาจปรับลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากสถานการณ์ล่าสุด ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กที่มีสัดส่วนในตลาดโลก กว่า 50% รวมถึงยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ประกาศปรับลดการชดเชยภาษีการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็ก จากเดิมผู้ส่งออกในจีนสามารถขอคืน ภาษีจากทางภาครัฐได้ แต่ขณะนี้ไม่สามารถขอคืนได้แล้ว ส่งผลให้จีนต้องผลักภาระราคาไปที่ต้นทุนเหล็กในส่วนที่ไม่ได้รับคืน ซึ่งในส่วนนี้มีผล ต่อการกำหนดทิศทางตลาดให้ราคาเหล็กทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ขณะที่ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาของเหล็กด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันราคาเหล็กพุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเหล็กในประเทศไทยเมื่อเทียบจากอัตราการใช้กำลังการผลิต (CAP U) ต่อปีอยู่มีเพียง 34- 36% ของกำลังการผลิตทั้งหมดเท่านั้น ส่วนใหญเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยราคาเฉลี่ยเหล็กในประเทศก็มีทิศทางสอดคล้องตาม ราคาเหล็กที่นำเข้าเช่นเดียวกัน

"เมื่อราคาเหล็กต่างประเทศมีการปรับตัวขึ้นกันหมด ไทยจึงได้รับผลกระทบจากส่วนนี้ โดยเฉพาะภาคการก่อสร้าง ที่การ บริโภคทั้งการผลิต ส่งออก และนำเข้าอยู่ในส่วนก่อสร้างกว่า 60% ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เหล็กหลากหลายประเภทในการดำเนิน งาน" น.ส.วรดากล่าว

ด้านนายธีรวัต อมรธาตรี กรรมการผู้จัดการ บมจ.บางกอกชีทเม็ททัล (BM) กล่าวว่า ภาครัฐควบคุมราคาเหล็กด้วยกลไก ทางเก็บภาษีอยู่แล้ว แต่คำแนะนำภาครัฐหากอยากช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับภาคเอกชนควรออกมาตรการ 2 ข้อ คือ 1.ควรให้ภาค เอกชนสามารถปรับราคาค่า K ให้สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบที่ผันผวนได้ และ 2.รัฐบาลอาจยกเลิกกำแพงภาษีวัตถุดิบชั่วคราว หรือจนกว่า ราคาเหล็กในตลาดโลกจะเสถียร ซึ่งหากทำได้ทั้งสองข้อนี้จะสามารถช่วยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับใหญ่

อย่างไรก็ตาม จากราคาเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบ เนื่องจากบริษัทไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ จึงกระทบต่อความ สามารถในการทำกำไร บริษัทจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการทำออเดอร์ให้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น เพราะไม่สามารถทำกำไรต่อ หน่วยได้มาก ทั้งนี้เนื่องจาก BM อยู่ในเขตปลอดอากร (Free Zone - FZ) จึงต้องใช้เหล็กที่อยู่ในประเทศเพื่อผลิต และส่งออก ดังนั้น บริษัทจึงต้องทำเรื่องขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานค่อน ข้างนาน จึงมีผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัท ทั้งนี้หากจะแก้ไขปัญหาระยะยาวจำเป็นต้องจัดตั้ง Free Zone ขึ้นมาเอง เพื่อที่จะสามารถนำ เข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกำแพงภาษี

"ทางบริษัทได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้น โดยการตั้งราคาเป็นรายไตรมาส เมื่อเหล็กปรับราคาขึ้น ก็จะมีการเจรจากับลูกค้า แบบหนึ่ง และเมื่อเหล็กราคาลงก็จะมีการเจรจากับลูกค้าอีกแบบหนึ่ง เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ตลาดเหล็ก" นายธีรวัตกล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ