ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.17 อ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก ไร้ปัจจัยใหม่หนุน ตลาดรอตัวเลขศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 6, 2021 17:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.14 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.08 - 32.17 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหว ตามทิศทางตลาดโลกเนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า คืนนี้ตลาดรอดูการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิตเดือน มิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน ของสหรัฐ (ISM)

"บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดของวัน เป็นไปตามทิศทางตลาดโลก ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.10 - 32.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.80 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.82 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1838 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1860 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,591.43 จุด เพิ่มขึ้น 12.15 จุด, +0.77% มูลค่าการซื้อขาย 69,485.37 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 105.95 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ธนาคารออมสินดำเนินมาตรการสินเชื่ออิ่มใจวงเงิน 2,000 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายสูง
สุด 1 แสนบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ภายหลังได้
รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ที่ประชุม ครม.เห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินจำนวน 2,519.38 ล้านบาท โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา
33 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ได้แก่ นายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 4
ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และกิจการ
กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัว
ลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่
เดือนกรกฎาคม 2563
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ระบุมีความเป็นไปได้ที่การส่งออกของไทยในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากปี
ก่อน เนื่องจากทิศทางการส่งออกมีแนวโน้มที่ดี จากภาพรวมสินค้าส่งออกของไทยที่มีการเติบโตทุกชนิด ยกเว้นข้าว และน้ำตาล โดยการส่ง
ออกในเดือน พ.ค.มีการขยายตัว 41.59% จากการเติบโตจากทั้งฝั่งสหภาพยุโรป, กลุ่ม CLMV, กลุ่มอาเซียน, จีน และสหรัฐฯ
  • วิจัยกรุงศรี คาดเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงขาลงและยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะ
จากการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด การจัดหาและการกระจายวัคซีน
  • กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ได้ตัดสินใจเลื่อนการประชุมออกไปโดยไม่มี
กำหนด เนื่องจากซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมัน
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในการ
ประชุมวันนี้ พร้อมส่งสัญญาณว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำจนถึงสิ้นปีนี้
  • สำนักงานสถิติของรัฐบาลเยอรมนี (FSO) เผยคำสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในเยอรมนีร่วงต่ำสุดในเดือนพ.ค. นับตั้งแต่การล็อก
ดาวน์ครั้งแรกในปี 2563 โดยได้รับผลกระทบจากอุปสค์ที่ลดลงจากประเทศนอกเขตยูโรโซน และสัญญาเครื่องจักรและสินค้าขั้นกลางที่ลดลง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ