ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.24/25 แนวโน้มแข็งค่า คาดกรอบวันนี้ 32.10-32.40 จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 1, 2021 09:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.24/25 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ ที่ระดับ 32.26 บาท/ดอลลาร์

การเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้น่าจะยังเป็น sideway โดยทิศทางยังไปทางด้านแข็งค่า เนื่องจากปัจจัยหลายตัวทำให้ sentiment ของตลาดดีขึ้น เช่น ยอดการติดเชื้อโควิดในประเทศรายวันมีจำนวนลดลง, มี flow เข้ามาในตลาดพันธบัตร รวมทั้งตลาด หุ้นไทยยังปิดบวก

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.10 - 32.40 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดติดตามการรายงาน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือนส.ค.ในคืนวันศุกร์นี้

THAI BAHT FIX 3M (31 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.29536% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.27053%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.19/20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 109.92 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1802/1803 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1828 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.338 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในเดือนส.ค.นี้ ยัง
ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เพราะประชาชนยังมีกำลังซื้ออ่อนแอ กิจกรรมเศรษฐกิจยังไม่กลับมา จากการมีมาตรการล็อก
ดาวน์ จำกัดกิจการร้านอาหาร และได้รับผลกระทบโควิดต่างประเทศกลับมารุนแรง การขาดแคลนตู้คอนเทเนอร์ และเซมิคอนดักเตอร์ (ชิ
ป) รวมทั้งโควิดลามสู่โรงงานกระทบภาคการผลิต ซึ่งยังเป็นปัจจัยติดตาม โดยธปท.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในวันที่ 29 ก.
ย.64 เพื่อมาประเมินผลกระทบว่าเป็นอย่างไร จากเดิมคาดจีดีพีปี 64 ไว้ขยายตัว 0.7%
  • แบงก์ชาติออก 9 มาตรการ สัปดาห์นี้ หนุน "แบงก์-นอนแบงก์" เร่งปรับโครงสร้างหนี้อุ้มลูกหนี้ระยะยาว ทั้งแฮร์คัท ลด
ต้น ลดดอก ขยายเวลาชำระ หลังประเมินจีดีพีฟื้นปี 2567 กกร.ถกดันเศรษฐกิจหลังคลายล็อก "หอการค้า" คาดประชาชนยังไม่กล้าออก
จากบ้าน
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ 10
เดือนแรกปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563-กรกฎาคม 2564) หลังจากหักรายการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรคืนกรมศุลกากร และ
อื่นๆ อยู่ที่ 1,917,019 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการไว้ที่ 216,878 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 10.2% แต่ใกล้เคียงปีก่อน โดยกรมสรรพากร
ต่ำกว่าเป้า 142,767 ล้านบาท หรือต่ำลง 9% กรมสรรพสามิตต่ำลง 67,595 ล้านบาท หรือ 12.9% รัฐวิสาหกิจนำส่งต่ำลง 24,282
ล้านบาท หรือต่ำ 16.5% กรมศุลกากรต่ำลง 2,128 ล้านบาท หรือต่ำ 2.4% เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจน้อยลง
  • สรรพากรพร้อมเก็บภาษี e-Service 1 ก.ย.นี้ ครอบคลุม 5 แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศ คาดรายได้ปีละ 5 พัน
ล้านบาท เผย 50 บริษัทต่างชาติขึ้นทะเบียน เสียภาษีคึกคัก 'เฟซบุ๊ค-กูเกิล' ระบุ พร้อมทำตามกฎหมายไทย ชี้แจงผู้ลงโฆษณาต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • การท่องเที่ยวฯ เตรียมปลดล็อกอีก 5 พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน ชะอำ และชลบุรี เปิดรับนักท่องเที่ยว ตั้งเป้า
เดือนต.ค.ไทยเปิดประเทศได้มากขึ้น หลังได้วัคซีนจำนวนมากในเดือนก.ย. ด้านหัวหินเตรียมยื่นข้อเสนอรับต่างชาติ เที่ยวทะเล-เดินห้าง
ในพื้นที่ได้เหมือนภูเก็ต ตั้งเป้าเปิดได้ 1 ต.ค. คาดมี 1 แสนคนมาเยือน
  • ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 18.6% ในเดือนมิ.
ย. ซึ่งเป็นการทะยานขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2530 จากระดับ 16.8% ในเดือนพ.ค.
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 ส.ค.)
หลังจาก Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลงแตะระดับ
ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (31 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่
ปลอดภัย หลังมีรายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิด
เผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อเป็นสัญญาณบ่งชี้ไทม์ไลน์ในการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.จาก ADP,
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน
ของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดุลการค้าเดือนก.ค., ยอดสั่ง
ซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.จากมาร์กิต และดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.
จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่าธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เมื่อใด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ