ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันเคลื่อนไหวผันผวนแตะ 34 ก่อนปิดที่ 33.62/63 จับตาตัวเลขศก.สหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 1, 2021 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.62/63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 33.70 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทปิดแข็งค่า ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างกว้าง ยังไร้ปัจจัยใหม่ เนื่องจากจีนเริ่มหยุดธุรกรรมซื้อขาย นอกจากนี้ดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า หลังจากเมื่อวานนี้บอลด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นมาสูง นักลงทุนจึงมีการปรับทิศทางการซื้อขายทำ กำไร

"บาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนและกว้างถึง 50 สตางค์ ขึ้นไปแตะถึงระดับ 34.00 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ตลาดนิ่ง และยัง ไม่มีโฟลว์ใหม่" นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.09/10 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 111.28 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1580/82 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1570 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,605.17 จุด ลดลง 0.51 จุด (-0.03%) มูลค่าการซื้อขาย 75,665 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,609.54 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงการคลัง ได้โอนเงินคนละครึ่งรอบที่ 2 จำนวน 1,500 บาท เข้าแอปฯ เป๋าตัง แล้วโดยนำไปรวมกับวงเงิน
สิทธิคงเหลือจากในรอบแรกให้อัตโนมัติ ส่วนประชาชนที่ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 หลังวันที่ 1 ต.ค.นั้นจะได้รับวงเงินรวมทั้งสิ้น
3,000 บาท กระตุ้นให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมปี 64 ที่มีพื้นที่ประสบน้ำท่วมทั้งหมด 31 จังหวัด คาดสร้าง
มูลค่าความเสียหาย 15,036.11 ล้านบาท โดยกว่า 7,000 ล้านบาทเป็นความเสียหายด้านเกษตร ทั้งนี้ส่งผลกระทบต่อจีดีพีทั้งปี ให้ลด
ลง 0.1-0.2% หรือในไตรมาส 4/64 จีดีพีจะลดลง 0.3-0.5%
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ระดับ 42.6 ปรับ
เพิ่มขึ้นจากระดับ 40.0 ในเดือนสิงหาคม โดยดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นด้านต้นทุนที่ความเชื่อมั่นลดลงตามราคา
น้ำมันและเหล็กที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แม้ดัชนีฯ รวมยังต่ำกว่าระดับ 50 แต่การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มลดลง และการผ่อนคลายมาตรการ
Lockdown บางส่วน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 ส่งผลให้ดัชนีฯ ของเกือบทุกธุรกิจทั้งในภาคการผลิต และภาคที่มิใช่การผลิตปรับเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มขนส่งสินค้า ที่ดัชนีฯ กลับมาอยู่สูงกว่าระดับ 50 จากความเชื่อมั่นด้านการผลิตและ
บริการ รวมทั้งด้านคำสั่งซื้อที่ปรับดีขึ้นมาก
  • ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกันยายน ส่งสัญญาณที่ดีโตขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมในปีเดียว
กัน เป็นผลจากมาตรการการผ่อนปรนให้เปิดกิจการและธุรกิจเพิ่มเติมในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ส่งผลให้ความถี่ใน
การจับจ่าย Frequency of Shopping เพิ่มมากขึ้น แต่ยอดการใช้จ่ายต่อครั้ง Spending per Basket เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สะท้อน
ให้เห็นถึงกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และต้องการการกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ
  • ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ทางธนาคารฯ จะเปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ
สามารถแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและธุรกรรม โดยเป็นความพยายามที่จะป้องกันการฟอกเงิน รวมถึงการจัดหาเงินทุนเพื่อกระทำการใด ๆ
ที่ผิดกฎหมาย
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐได้ลงนามรับรองร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวแล้วในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทย ซึ่ง
จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐให้มีงบประมาณใช้จ่ายจนถึงวันที่ 3 ธ.ค.นี้ และหลีกเลี่ยงไม่ให้หน่วยงานเหล่านี้ต้องถูกปิดการ
ดำเนินงาน
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ (S&P) เตือนว่า ตลาดการเงินอาจได้รับผลกระทบรุนแรงหากสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ และ
อาจทำให้สหรัฐมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี S&P คาดว่าในท้ายที่สุดแล้ว สภาคองเกรสจะสามารถแก้ปัญหา
เพดานหนี้ได้ทันเวลา
  • ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เตรียมเปิดเผยกลยุทธ์ของรัฐบาลสหรัฐในด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนในวันจันทร์หน้า

(4 ต.ค.)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ