ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.53 แข็งค่าจากช่วงเช้าตามภูมิภาค จับตาถ้อยแถลงประธานเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 17, 2022 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.53 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.69 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.52 - 34.72 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแข็งค่าตามภูมิภาค จากผลของสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากตลาดยังคงกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.45 - 34.65 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้อง ติดตามคืนนี้ คือ ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. ของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.35 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 129.22 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0473 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0441 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,614.49 จุด เพิ่มขึ้น 30.11 จุด (+1.90%) มูลค่าการซื้อขาย 85,222 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,556.09 ลบ.(SET+MAI)
  • สภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 65 เหลือโต 2.5 - 3.5% โดยมีค่ากลางที่ 3% จากครั้งก่อนคาด 3.5-
4.5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งราคาพลังงานเพิ่มขึ้นใน
ช่วงที่ผ่านมา ส่งผลถึงไปอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น พร้อมปรับคาดการณ์ส่งออกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 7.3% อัตราเงินเฟ้อ 4.2-5.2%
  • แบงก์ชาติ เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1/65 ขยายตัว 6.9% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว
6.5% โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ ตามความต้องการเงินทุนของภาคเอกชน และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ที่ขยายตัว
จากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสำคัญ โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีกำไรสุทธิ 49.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% ส่วน NPL อยู่ที่ 2.93%
  • คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงอีก ลิตรละ 5 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยจะมี
ผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.65 - 20 ก.ค. 65 เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำมันดีเซลราคาแพง ซึ่งถือเป็นต้นทุนค่าขนส่งสินค้าต่างๆ หลังจากที่
มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในรอบแรก จะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 พ.ค.นี้
  • กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (16 พ.ค.) ว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนย่อย
BA.4 และ BA.5 ในชุมชนเป็นครั้งแรก
  • รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศในวันนี้ (17 พ.ค.) ว่า ญี่ปุ่นจะเริ่มทำการทดสอบการท่องเที่ยวด้วยการเปิดรับกรุ๊ปทัวร์ในจำนวน
จำกัดในเดือนพ.ค.นี้ ภายใต้แคมเปญ "Test Tourism" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจเปิดประเทศอย่างเต็มที่
เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
  • บรรดานักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนระบุว่า เป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนนั้นต้องใช้ความพยายามอย่างสูง
ตั้งแต่ก่อนที่การบังคับใช้มาตรการสกัดโควิด-19 เป็นวงกว้างในนครเซี่ยงไฮ้และเมืองสำคัญอื่น ๆ ของจีนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

นักลงทุนต่างวิตกกังวลว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันยืดเยื้อในจีน ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลก อาจทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงอีก และทำให้ภาวะชะงักงันด้านห่วงโซ่อุปทานที่กำลังย่ำแย่กระตุ้นความเสี่ยงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

  • ประธานหอการค้าอเมริกันในจีน (AmCham China) เตือนในวันนี้ (17 พ.ค.) ว่า การควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
โควิด-19 อย่างเข้มงวดของจีนนั้น จะขัดขวางการลงทุนจากต่างชาติตลอดช่วงหลายปีข้างหน้า เนื่องจากการจำกัดการเดินทางได้ปิดกั้น
การเดินหน้าโครงการธุรกิจต่าง ๆ
  • ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทเทอร์ราฟอร์ม แลบส์ (Terraform Labs) เสนอแผนฟื้นฟูบล็อกเชนเทอร์รา (Terra) ที่
ประสบปัญหาขึ้นมาใหม่ด้วยการกำจัดสเตเบิลคอยน์ TerraUSD หรือ UST ที่ทรุดตัวลงอย่างหนักจนหลุดมูลค่า 1 ดอลลาร์ที่ตรึงไว้กับ
ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อเสนอดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่การโหวตเสียงในชุมชนคริปโทเคอร์เรนซีในวันที่ 18 พ.ค.นี้ โดยหากผ่านการโหวต เครือ ข่ายใหม่ก็จะมีการเปิดตัวในวันที่ 27 พ.ค.

  • ซีอีโอของบริษัทเทสลากล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย พร้อมกับเตือนให้บริษัทต่าง ๆ
ระมัดระวังเรื่องต้นทุนและกระแสเงินสดหมุนเวียน
  • ราคาบิตคอยน์ฟื้นตัวขึ้นเหนือระดับ 30,000 ดอลลาร์ในช่วงบ่ายวันนี้ ราคาบิตคอยน์ปรับตัวขึ้น 608 ดอลลาร์ หรือ
+2.04% แตะที่ 30,489 ดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อขาย หลังจากราคาสเตเบิลคอยน์ทรุดตัวลงอย่างหนักใน
ช่วงที่ผ่านมา
  • นายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า บิตคอยน์ไม่ใช่ทางเลือกที่จะนำมาใช้แทนเงินได้

พร้อมมองว่า บิตคอยน์ และคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ประสบความสำเร็จในฐานะสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร แต่ไม่ใช่ทางเลือกที่จะนำมาใช้

แทนเงินได้ ซึ่งจะเห็นว่าคริปโทเคอร์เรนซี กำลังอยู่ในช่วงขาลงในขณะนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ