ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.57 เคลื่อนไหวตามแรงซื้อ-ขายระหว่างวัน รอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2022 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.63/68 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.57-34.67 บาท/ดอลลาร์ ในขณะที่สกุลเงินอื่นในภูมิภาคมีการเคลื่อนไหวแบบ ผสม คือ มีทั้งอ่อนค่า และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งในภาพรวมการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไม่ได้มาจากปัจจัยใดเป็นพิเศษ แต่ เป็นไปตามแรงซื้อ-ขายระหว่างวัน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50 - 34.70 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ ต้องติดตามข้อมูล เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในส่วนของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย.

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 128.48 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0499 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0485 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,605.98 จุด ลดลง 14.35 จุด (-0.89%) มูลค่าการซื้อขาย 62,664 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 536.03 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.คลัง กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจระบบเปิด ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกประสบปัญหาและส่งผลกระทบไปยัง
ประเทศต่างๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ที่เศรษฐกิจไทยต้องได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทั้งด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งการเงิน ที่ต่างมีความเชื่อม
โยงกันหมด
  • ผู้ว่าฯ ธปท. มั่นใจเศรษฐกิจไทยจะไม่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างแน่นอน เพราะการที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ
Stagflation ต้องประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อสูง ควบคู่กับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่าแม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะ
ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่ากรอบเป้าหมาย แต่เศรษฐกิจปีนี้ไม่ได้ชะลอตัวแต่อย่างใด และมีโอกาสน้อยมากที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตต่ำกว่าปี
ก่อน
  • ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวถึงการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงว่า
ในส่วนของ ธปท.เอง มีการดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายการเงิน รวมถึงการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น ดังนั้นจึงไม่มีความจำ
เป็นที่ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเฟด ส่วนสถานการณ์เงินบาทขณะนี้มีความผันผวนสูง โดยเงินบาทอ่อนค่าไปจากต้นปี 3% แต่
ถือว่ายังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผล
กับตลาดเงินและค่าเงินโดยตรง เนื่องจากยิ่งส่วนต่างดอกเบี้ยมากเท่าไหร่ค่าเงินในประเทศนั้นจะผันผวนมากขึ้น ถ้าหากไทยไม่ขึ้นดอกเบี้ย
ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเผชิญกับเงินทุนไหลออก ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีกในครึ่งปีหลังนี้
  • บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) ระบุว่า ในระยะสั้นราคาทองคำจึงมีโอกาสปรับตัวลดลงได้
อีกตามทิศทางของสินทรัพย์เสี่ยงที่ยังมีโอกาสลดลงต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนยังมีความกังวลในหลายด้าน ทั้งตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังน่าเป็นห่วง
รวมถึงสถานการณ์ในยูเครนและรัสเซียที่ยังต้องจับตามอง โดยเฉพาะหากฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO
  • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ 2.25% ในที่ประชุมวันนี้ (19 พ.ค.) โดย
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2561 เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเร็วที่สุดเป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • รมว.คลังสหรัฐ สนับสนุนให้รัฐบาลสหรัฐยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางกลุ่ม โดยเป็นสินค้ากลุ่มที่ไม่ได้มีความสำคัญ
ทางยุทธศาสตร์มากแต่กระทบต่อผู้บริโภคและธุรกิจในสหรัฐ โดยมองว่า การลดภาษีนำเข้าอาจช่วยสกัดเงินเฟ้อได้ แต่ก็อาจจะไม่ถึงกับว่า
เปลี่ยนแปลงไปเลยอย่างสิ้นเชิง
  • เจพีมอร์แกน ปรับลดคาดการณ์ GDP ของสหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ลงเหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 3% พร้อม
ระบุว่าเศรษฐกิจที่ชะลอลงมากพอ อาจทำให้อัตราการว่างงานค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ได้
  • นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการทรุดตัวลงของราคาเหรียญสเตเบิลคอยน์ TerraUSD หรือ
UST และเหรียญลูนา (Luna) ว่า สาเหตุที่ทำให้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีปั่นป่วนในช่วงที่ผ่านมา เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลก
และการทรุดตัวลงของสเตเบิลคอยน์ได้บั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่ออุตสาหกรรมคริปโทฯ และระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ