ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.31 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า หลังดอลลาร์อ่อนค่าวิตกศก.สหรัฐชะลอ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 27, 2022 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.31 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.46 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกหลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากนักลงทุนคาดเศรษฐกิจสหรัฐจะ ชะลอตัว และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ผ่อนคลายมาตรการ

"บาทแข็งค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค จากปัจจัยเดิมเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเฟดคุมเข้มน้อยลง ยังไม่มีปัจจัยใหม่"
นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.40 - 35.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.20 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.77 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0579 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0557 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,580.20 จุด เพิ่มขึ้น 11.44 จุด, +0.73% มูลค่าการซื้อขาย 59,201.02 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,868.74 ล้านบาท (SET+MAI)
  • รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้รายงานให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก
รัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ทราบว่าล่าสุดสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้การคาดการณ์การจราจรทางอากาศ และ
จำนวนผู้เดินทางจากต่างประเทศมายังประเทศไทยในปี 65 จะเกินกว่า 10 ล้านคน โดยการเพิ่มขึ้นของผู้เดินทางเป็นไปทิศทางเดียวกับ
ทั่วโลก เนื่องจากหลายประเทศผ่อนคลายข้อจำกัดการเข้าประเทศ หลังคลายความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19
  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่กดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น อัตรา
ดอกเบี้ยเปลี่ยนเป็นขาขึ้น และโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่เปราะบาง เศรษฐกิจไทยมีโอกาสสูงที่จะเผชิญหน้ากับ 2 สถานการณ์ ซึ่งจะเกิด
ขึ้นหลังจากที่วัฏจักรหนี้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มเปลี่ยนเป็นขาลง (deleveraging) โดยอาจเป็นเศรษฐกิจที่ซึมยาวและไม่เติบโต ซึ่งเป็น
กรณีฐานที่ประเมินไว้ในปัจจุบัน และยังมีโอกาสที่จะเข้าสู่กรณีเลวร้าย คือเกิดภาวะวิกฤติในภาคการเงินขึ้นได้เช่นกัน
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Analyst Meeting ว่า กนง.ไม่มี
ความจำเป็นที่ จะต้องปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไปจากระดับ 1-3% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่
ยอมรับว่า เงินเฟ้อในระยะสั้นอาจจะมีความผันผวนและหลุดกรอบเป้าหมายไปบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม แต่เชื่อว่า
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ 1-3% นี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยแล้ว
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 35.25-35.70
บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาทิศทางการดำเนินนโยบายจากทั้งประธานอีซีบี และประธานเฟด รวมถึงติดตามการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลเดือน
พ.ค.ของสหรัฐฯ การเคลื่อนไหวของราคาก๊าซธรรมชาติ และความเห็นใดๆ จากที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก
G-7 ที่อาจเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยน
  • ประธานธนาคารโลกเปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (26 มิ.ย.) ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญ "ภาวะชะลอตัวอย่างหนัก" โดยได้
รับแรงกดดันจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พร้อมเตือนว่า บางประเทศยากที่จะหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • สำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่า ไต้หวันและสหรัฐจะจัดการเจรจาการค้าในวันนี้ ภายใต้กรอบการทำ
งานที่ตกลงใหม่
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานสรุปมุมมองเศรษฐกิจ (Summary of Opinions) จากการประชุมประจำ
เดือนมิ.ย. โดยระบุว่า การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของค่าแรงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของ BOJ ได้อย่าง
ยั่งยืน ซึ่งเน้นย้ำปณิธานในการตรึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำพิเศษต่อไป
  • นักลงทุนจะให้ความสนใจกับงานสัมมนาที่จัดโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะเป็นเวทีสื่อสารกับตลาดเกี่ยวกับทิศทาง

การดำเนินนโยบายจากทั้งประธานอีซีบี และประธานเฟด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ