ภาวะตลาดเงินบาท: บาทปิด 35.71 อ่อนตามภูมิภาค คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.55-35.75 จับตาเงินเฟ้อ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 4, 2022 17:54 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.71 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อ เนื่องจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.67 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ยังอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ม.ค.60 โดยการอ่อนค่ายังเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุล เงินอื่นในภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.62-35.72 บาท/ดอลลาร์ โดยสาเหตุ หลักมาจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจสหรัฐที่อาจจะถดถอย ซึ่งอาจลามเป็นผลกระทบต่อการส่งออกไทยด้วย

"ตลาดกังวลเศรษฐกิจโลก และกังวลหากเฟดยังเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจจะลามมาส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐที่อาจรับมือ ไม่ไหว ส่วนของบ้านเรา ก็อาจจะโดนผลกระทบในแง่การส่งออกได้" นักบริหารเงิน ระบุ

อย่างไรก็ตาม มองว่าแม้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า แต่คงจะไม่เข้าไปแตะระดับ 36 บาท/ดอลลาร์ เพราะจะเป็นระดับที่ สร้าง panic ให้ตลาดได้ โดยเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคงจะดูแลอยู่ พรุ่งนี้ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือนมิ.ย.

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.55-35.75 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.41 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.96 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0442 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0439 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,560.27 จุด ลดลง 12.40 จุด (-0.79%) มูลค่าการซื้อขาย 55,686 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,514.52 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารกรุงศรี คาดตราบใดที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ปรับท่าทีแข็งกร้าวในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ แม้
ต้องแลกกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย เงินดอลลาร์ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อได้ในช่วงต้นของไตรมาส 3
  • นักลงทุนติดตามการรายงานอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือนมิ.ย.65 จากกระทรวงพาณิชย์ในวันพรุ่งนี้ คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นมา
ที่ 7.5-7.7% จาก 7.1% ในเดือน พ.ค.65 รวมทั้งติดตามรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (FOMC) เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. ที่จะเผยแพร่ในกลางสัปดาห์นี้
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับกรอบคาดการณ์ GDP ปี 65 มาอยู่ที่ 2.75 - 3.5% จาก
เดิมที่ 2.5 - 4% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางความเสี่ยงที่รุมเร้าต่อเนื่อง และปรับเพิ่มคาดการณ์เงิน
เฟ้อ เป็น 5-7% จากเดิม 3-5.5% และปรับเพิ่มมูลค่าส่งออกไทยปีนี้ เป็น 5-7% จากเดิม 3-5% เนื่องค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
มากกว่าที่คาดไว้เดิม แต่มองว่าการส่งออกไทยยังมีความท้าทายมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรมเดือนมิ.ย.65 อยู่ที่ 38% เพิ่มขึ้นจากเดือน
ก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยเพิ่มขึ้น หลังผ่อนคลายนโยบายเปิดประเทศ รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
โรงแรม มีการจ้างงานเฉลี่ย 71% ของช่วงก่อนเกิดโควิด
  • นักวิเคราะห์จากบริษัทโนมูระ โฮลดิงส์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยใน
ปีหน้า เนื่องจากการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินของรัฐบาล และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
ตามกัน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติตุรกี เปิดเผยว่า เงินเฟ้อในตุรกีพุ่งเกือบ 79% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 25 ปี
เนื่องจากผลของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงานและอาหารที่สูง รวมถึงค่าเงินลีราที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสวิตเซอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนมิ.ย. สูงสุดในรอบ 29 ปี และสูงกว่าที่นัก
เศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ โดยเป็นครั้งแรกที่อัตราเงินเฟ้อของสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าระดับ 3% นับตั้งแต่ปี 2551
  • นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของจีนจะดีดตัวขึ้น 4.5% ในช่วงครึ่งหลังของปี
2565 หลังจากรัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเศรษฐกิจของจีนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว พร้อม
คาดการณ์ GDP ของจีนปีนี้ จะอยู่ที่ระดับ 4% ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่กำหนดไว้ที่ 5.5%
  • สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ FOMC เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย., ดัชนีผู้
จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า-ส่งออก-ดุลการค้า
เดือนพ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ