(เพิ่มเติม1) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.97 อ่อนค่าสุดรอบ 16 ปี มองกรอบวันนี้ 36.90-37.10 จับตา Flow

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 16, 2022 11:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 36.97 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 36.78 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ ต.ค. 49 ซึ่งเป็นการอ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นใน ภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ตลาดกลับมากังวลถึงการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้าที่มีโอกาส เป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 1% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง

ขณะที่เมื่อคืนราคาทองคำร่วงลงแรง 30 ดอลลาร์ และเช้านี้ยังลงต่อเนื่อง โดยต้องจับตา Flow เนื่องจากคาดว่าจะ ทำให้มีแรงซื้อทองคำเข้ามาจากฝั่งผู้ค้าทองในประเทศ

"บาทวันนี้เปิดมาอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ตามทิศทางของเงินในภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ วันนี้เงิน หยวนก็ทะลุ 7.00 หยวน/ดอลลาร์ ไปแล้ว ล่าสุดเงินบาทยังทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับที่เปิดตลาด อาจเป็นไปได้ว่าทางการคงเข้า มาดูแลไม่ให้บาทอ่อนค่าเร็ว แต่ระหว่างวัน มีโอกาสจะไปแตะที่ 37 บาท/ดอลลาร์ได้" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.90- 37.10 บาท/ดอลลาร์ โดยสัปดาห์หน้าปัจจัย สำคัญที่ต้องติดตาม คือ การประชุมเฟดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาดหรือไม่

THAI BAHT FIX 3M (15 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.82429% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.87656%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.98750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.24 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 143.39 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9997 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 0.9988 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.714 บาท/
ดอลลาร์
  • ม.หอการค้าไทย เผยเศรษฐกิจไทยยังมี 5 ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า หวั่นฉุดจีดีพีวูบ 1.4 แสนล้านบาท พร้อมยัน
เศรษฐกิจโลก ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย คงเป้าจีดีพีปี 2565 ที่ 3.1%
  • กูรู" ชี้ส่งออก-ท่องเที่ยวดัน เศรษฐกิจไทย 9 เดือนฟื้นตัว แต่ยังไม่เท่าก่อนโควิด สะท้อนผ่านมูลค่าจีดีพีหายไป 2
แสนล้าน ขณะที่พบสัญญาณส่งออกชะลอตัวจากออเดอร์ลด จากราคา พลังงาน แนะ "แบงก์ชาติ" ดูแลค่าเงินบาทใกล้ชิด "บัณฑิต"
ชี้ 2 โจทย์ใหญ่ของไทย เร่ง "สร้างความรู้-ทักษะแรงงาน-การสนับสุนของรัฐ" เพื่อยกระดับสู่เอสเคิร์ฟ สร้างรายได้ประเทศ
  • ก.ล.ต.เปิดเฮียริ่งเกณฑ์คุมเข้มซื้อขายคริปโตฯ ขั้นต่ำ 5 พันบาทต่อธุรกรรม การันตีรายย่อยมีความเข้าใจ พร้อม
คุมธุรกิจศูนย์ซื้อขาย-นายหน้า-ผู้ค้า ต้องเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงที่ ก.ล.ต.กำหนด และห้ามรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล-ปล่อยกู้แบบ
จ่ายผลตอบแทนหวั่นซ้ำรอย "ซิปเม็กซ์"
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 213,000
รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 226,000 ราย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี
(15 ก.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 31.8 ดอลลาร์ หรือ 1.86%
ปิดที่ 1,677.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,700 ดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของ
สกุลเงินดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด
  • ข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
1.00%
  • ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. โดยยอด
ค้าปลีกได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลงของราคาพลังงาน ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเพิ่มการใช้จ่าย
  • ธนาคารโลก (World Bank) ออกรายงานเตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอย เนื่องจากธนาคาร
กลางทั่วโลกกำลังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพร้อมกันเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐ จีน และยูโรโซนได้ชะลอตัวลง
อย่างรุนแรง และเศรษฐกิจโลกอาจเผชิญภาวะถดถอยในปีหน้า
  • สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญวันนี้ ยูโรโซนจะมีการรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค. ส่วนสหรัฐฯ จะรายงานดัชนี

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ย. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ