ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.73 ทรงตัว ให้กรอบพรุ่งนี้ 35.60-35.85 จับตาดัชนี PPI-ยอดค้าปลีกสหรัฐคืนพรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 13, 2024 17:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.73 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.73 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหว Sideway ในโซนอ่อนค่า สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐฯ เนื่องจากปัจจัยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.63-35.75 บาท/ดอลลาร์

"บาท sideway ในโซนอ่อนค่า หลักๆ น่าจะมาจากตัวเลข CPI สหรัฐ ที่ล่าสุดออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด ส่วนเงินในภูมิภาค ก็อ่อนค่าเช่นกัน" นักบริหารเงินระบุ

สำหรับคืนนี้ ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดรอดูการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และยอดค้า ปลีกเดือนก.พ.ของสหรัฐ ในคืนวันพฤหัส

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.60 - 35.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.97 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.44 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0923 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0923 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,384.51 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด (+0.35%) มูลค่าการซื้อขาย 40,297.40 ล้านบา
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,055.39 ล้านบาท
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนก.พ.67 อยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 90.6 ในเดือนม.
ค.67 โดยมีปัจจัยลบจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและปัญหาหนี้ครัวเรือน ส่งผลให้ประชาชน
ระมัดระวังการใช้จ่าย
  • ส.อ.ท.เรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร่งด่วน เพราะโครง
สร้างเศรษฐกิจไทยไม่เหมือนต่างประเทศ ซึ่งภาวะปัจจุบันต้นทุนดอกเบี้ยเป็นเรื่องสำคัญของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบาง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อ
ช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน, สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิ
ทัล และบัตรเครดิต) ในกลุ่มบัตรกดเงินสดที่ไม่ได้เป็น NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) และได้ชำระดอกเบี้ยรวมมาแล้วมากกว่าเงินต้นที่
ชำระทั้งหมดเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2567 อยู่ที่ 2.8% จากเดิมคาดการณ์ 3.1% จากอุปสงค์ใน
ประเทศที่ยังแผ่วลง ภาคการผลิตที่ยังหดตัวต่อเนื่อง และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี คาดว่าในปีนี้แรงหนุนเศรษฐกิจไทยจะมา
จากการกลับมาเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล การส่งออก นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
  • ผู้ก่อตั้งและซีอีโอกองทุนเฮจด์ฟันด์ซิทาเดล (Citadel) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ควรรีบปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยเร็วเกินไป
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ คว้าคะแนนเสียงจากผู้แทนได้จำนวนผ่านเกณฑ์การเป็น
แคนดิเดตในพรรคของตนอย่างเป็นทางการเมื่อคืนนี้ (12 มี.ค.) ถือเป็นการเปิดฉากการรีแมตช์คู่ชิงปธน.สหรัฐเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ
70 ปี
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวขึ้น 0.2% ตามคาด
ในเดือนม.ค. หลังเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของอังกฤษประสบภาวะซบเซา นับตั้งแต่ฟื้นตัว
จากโควิด-19 เนื่องจากต้นทุนนำเข้าพลังงานสูงขึ้นในช่วงที่รัสเซียรุกรานยูเครน และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ
(BoE) ที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit หรือ EIU) บ่งชี้ว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่
ในระดับสูงในประเทศเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในปี 2567 แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายปีนี้ โดยนับ
ตั้งแต่ต้นปี 2565 ธนาคารกลางส่วนใหญ่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมากเพื่อพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
  • รัฐบาลอินเดีย ประกาศว่าอินเดียได้อนุญาตให้ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) สามารถนำเข้าทองคำได้ โดยไม่ต้องจ่ายภาษี
นำเข้า ทั้งนี้ ข้อมูล ณ เดือนก.ย.66 ธนาคารกลางอินเดีย ถือครองทองคำอยู่ที่ 800.79 ตัน ซึ่งรวมถึงการฝากทองคำจำนวน 39.89
ตัน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย

สัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ., ยอดค้าปลีก เดือนก.พ. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น เดือนมี.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ