รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานประจำปีเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินภาคสาธารณะของญี่ปุ่นวันนี้ ซึ่งมีใจความระบุว่า การที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดอย่างยืดเยื้อนั้น เป็นผลมาจากดีมานด์ที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยัง โดยญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดอันเนื่องมาจากปัญหาระดับโครงสร้างก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเงิน ซึ่งทำให้ระดับราคาปรับตัวลงทั่วโลก
นอกจากนี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดนั้น เป็นเพราะญี่ปุ่นใช้เวลานานกว่าประเทศอื่นๆในการรับมือกับผลกระทบด้านลบจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ เช่น หนี้เสียและจำนวนหนี้ที่สูงจนเกินไป ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อกระแสเงินหมุนเวียน การขยายตัวอย่างเชื่องช้า และดีมานด์ที่ไม่เพียงพอ ซึ่งญี่ปุ่นต้องรับมือกับดีมานด์ที่หดตัวลงในรอบเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่ที่ภาวะฟองสบู่แตกเมื่อช่วงต้นปี 2533
แม้ว่าหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากดีมานด์ซบเซาหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ก็มีเพียงญี่ปุ่นเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำด้วยกันในขณะนี้
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้วว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอยู่ในภาวะเงินฝืด ซึ่งถือเป็นการออกมาประกาศภาวะดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี 5 เดือน นับตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญกับภาวะเงินฝืดตั้งแต่มี.ค. 2544 ไปจนถึงเดือนมิ.ย. 2549
ทั้งนี้ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งการขยายตัวนั้นขึ้นอยู่กับการส่งออกอย่างมาก ทำให้ภาวะเงินฝืดของประเทศย่ำแย่ลงอย่างมาก
รายงานของรัฐบาลยังระบุด้วยว่า บริษัทของญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นธุรกิจส่งออกตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเรื่องการควบคุมต้นทุนการผลิต ขณะที่หาทางขายสินค้าที่ราคาในราคาที่สามารถแข่งขันกันได้ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งแรงกดดันจะสูงมากขึ้นเมื่อมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งต้นทุนด้านแรงงานอยู่ในระดับต่ำ