กสทช.เสียดายเลื่อนประมูลคลื่น 1800 และ 900 MHz,นักวิชาการแนะทางแก้ปัญหาธรรมาภิบาล

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday July 21, 2014 17:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการด้านกิจการโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีการเลื่อนการประมูลต่างๆของ กสทช. ทั้งหมด ส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 1800 และ 900 MHz ให้มีความล่าช้าออกไปจากแผนเดิม ซึ่งตามกำหนดการเดิมทาง กสทช. มีความพร้อมที่จะสามารถจัดงานประมูลได้ในเดือน ส.ค.57

อย่างไรก็ตาม มองว่าการเลื่อนการประมูลออกไป อาจจะเป็นสาเหตุมาจากความไม่โปร่งใสในเรื่องของกฎหมาย ความไม่เท่าเทียมกัน และไม่เกิดการแข่งขันที่แท้จริง ซึ่งในช่วงที่มีการชะลอการประมูลออกไปนั้นมองว่าควรจะกลับมาทบทวนในเรื่องของกฎหมายให้มีความโปร่งใสมากที่สุดที่โดยหลักการแล้วต้องมองถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก

"การที่ทาง คสช. ได้มีคำสั่งให้ชะลอการประมูลต่างๆของ กสทช. ออกไปอาจจะส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 1800 และ 900 MHz ที่ล่าช้าออกไป จากเดิมที่มีแผนจะจัดการประมูลขึ้นในเดือน ส.ค.เรามองว่าอาจจะมาจากความไม่โปร่งใส และความไม่เท่าเทียมที่อาจจะไม่เกิดการแข่งขันที่แท้จริงในการประมูล ซึ่งช่วงที่มีการชะลอการประมูลออกไป เราก็จะมาทบทวนเรื่องกฎหมายความโปร่งใสและความเท่าเทียมโดยมีหลักการที่จะให้ผู้บริโภคเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด"นายประวิทย์ กล่าว

ด้านนายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง นักวิจัยประจำโครงการ NBTC Policy ชี้ว่า พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีข้อกำหนดด้านธรรมาภิบาลที่ดีระดับหนึ่ง อาทิ การเปิดเผยข้อมูลสำคัญภายในระยะเวลาที่กำหนด การรับฟังความเห็นสาธารณะ การสร้างกลไกตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอก

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาจากการดำเนินงานของ กสทช. ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ล่าช้าหรือไม่เผยแพร่ การกำหนดนโยบายผ่านอนุกรรมการที่เลือกจากระบบโควตามากกว่าคุณสมบัติ การรับฟังความเห็นที่ทำเป็นพิธีมากกว่าดึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ล่าช้า และการใช้งบประมาณที่ไร้ประสิทธิภาพและขาดความโปร่งใส จึงควรที่จะมีการประบแก้กฎหมายเพื่อลดช่องโหว่จากการตีความ การบังคับใช้ และการออกแบบเชิงโครงสร้าง ซึ่งส่งผลต่อระบบธรรมาภิบาลของ กสทช.

นายวรพจน์ กล่าวอีกว่า การวิเคราะห์ปัญหาธรรมาภิบาลพร้อมข้อเสนอแนะใน 5 ประเด็นหลัก คือ ด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยที่ผ่านมาทาง กสทช. และสำนักงาน กสทช. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือเปิดเผยไม่ทันตามเวลาที่กำหนด ดังนั้นกฎหมายจึงควรกำหนดระยะเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญให้ชัดเจนและเพิ่มโทษในกรณีที่ไม่ปฎิบัติตามพร้อมทั้งบัญญัติให้ กสทช. และสำนักงานฯ ถือเป็นหน่วยงานอิสระใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

ด้านการกำหนดนโยบาย ที่ผ่านมาการแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อแสดงความเห็นเชิงนโยบายยังมีการดำเนินการผ่านระบบโควตา ดังนั้น กฎหมายควรจะกำหนดให้ กสทช.คำนึงถึงความรู้ความเชี่ยวชาญ และให้เปิดเผยข้อมูลด้านคุณสมบัติของอนุกรรมการด้วย นอกจากนี้ แม้ กสทช.จะจ้างหน่วยงานภายนอกศึกษาจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการอ้องอิงในกระบวนการกำหนดนโยบายเท่าที่ควร ดังนั้นกฎหมายควรกำหนดให้ กสทช. ต้องทำการศึกษาวิจัย และผลกระเพื่อทบจากการกำกับดูแลเพื่อใช้อ้างอิงในการตัดสินใจ และต้องมีการเผยแพร่การศึกษาก่อนการรับฟังความคิดเห็น

ด้านการรับเรื่องร้องเรียนและควบคุมผู้บริโภค ที่ผ่าน กสทช. ไม่สามารถจัดการเรื่องร้องเรียนได้ภายใน 30 วัน ตามกำหนดไว้ในกฎหมาย การจัดการเรื่องร้องเรียนให้มีการบังคับใช้เป็นการทั่วไป และอนุกรรมการด้านผู้บริโภคตั้งขึ้นระบบโควตา ดังนั้นกฎหมายควรกำหนดให้มีการตั้งสำนักงานคุ้มครองผูบริโภคในกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ที่เป็นหน่วยงานอิสระแทนอนุกรรมการด้านผู้บริโภค โดยที่มาของทั้ง 2 องค์กรอนั้นควรให้องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นผู้คัดเลือกกรรมการ

ด้านการใช้งบประมาณ หนึ่งในปัญหาหลักของ พ.ร.บ. องค์กรฯ คือการให้อำนาจในการใช้งบประมาณประจำปีให้ กสทช. มีอำนาจในการอนึมัติงบ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายทำงานเป็นเนื้อเดียวกันมากกว่าตรวจสอบกัน ดังนั้น กฎหมายควรปรับแก้ให้งบประมาณนั้นต้องผ่านกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ โดยผ่านการตรวจสอบและอนุมัตรจากรัฐสภา และให้องค์กรภายนอกที่มีความชำนาญด้านงบประมาณเป็นผู้ตรวจสอบ ทั้งนี้จาก กสทช. มีรายได้ค่อนข้างมาก และที่ผ่านมาสำนักงานฯมีแนวโน้มการตั้งงบประมาณนใกล้เคียงกับรายได้โดยขาดการตรวจสอบ จึงควรมีการประบลดงบประมาณไม่ให้มากเกินไป

ด้านกลไกการตรวจสอบจากภายในและภายนอก ซึ่งที่ผ่านมาแม้กฎหมายสรังกลไกตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมาเกิดจากการตีความสถานะของ กสทช. ที่การตรวจสอบครอบคลุมไปไม่ถึง จึงควรกำหนดให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มรอำนาจเปิดเผยรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยตรง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ