GSTEL ร่วงติดฟลอร์หลังปลด SP เหตุบริษัทยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายฯ

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday November 16, 2017 10:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

หุ้น GSTEL ราคาร่วงติดเพดานฟลอร์ 29.63% มาอยู่ที่ 0.19 บาท ลดลง 0.08 บาท มูลค่าซื้อขาย 7.95 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.03 น. โดยเปิดตลาดที่ 0.19 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 0.20 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 0.19 บาท

วานนี้ บมจ.จี สตีล (GSTEL) ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากมีภาระหนี้สินล้นและไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องล้มละลายหรือถูกยึดทรัพย์ จึงขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย SP ชั่วคราวเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบและรับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ เมื่อต้นปี 59 บริษัทฯ ได้รับการติดต่อจาก Asia Credit Opportunities I (Mauritius) Limited (ACO I) ภายใต้การควบคุมของ SSG Capital Holdings Limited (SSG CH), SSG Capital Partners III, L.P. (SSG III) และ Kendrick Global Limited (KG) (กลุ่ม SSG) แสดงความจำนงในการให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้กับบริษัทฯอย่างจริงจังและได้เริ่มกระบวนการตรวจสอบพิเศษ (Due Diligence)

กลุ่ม SSG พบว่าผลการสอบทานข้อมูลเป็นที่น่าพอใจและเชื่อมั่นว่าสามารถเข้ามาและปรับปรุงธุรกิจของบริษัทฯ ได้ จึงเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศรายใหญ่ 7 ราย (ซึ่งรวมถึง Cargill International Trading Pte. Ltd. (Cargill) ด้วย) และได้เข้าซื้อหนี้จากเจ้าหนี้ดังกล่าวรวมจำนวน 226,331,648 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 7,810,529,136.75 บาท (แบ่งเป็นเงินต้นจำนวน 127,885,456 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 4,413,227,620.09 บาท และเป็นดอกเบี้ยจำนวน 98,446,192 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 3,397,301,516.66 บาท) (หนี้การค้า)

ภายหลังจากการเข้าซื้อหนี้แล้วกลุ่ม SSG นำเสนอแผนการในการปรับโครงสร้างหนี้การค้าของบริษัทฯ โดยหนึ่งใน แผน คือ การจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อลดหนี้การค้าสุทธิจำนวน 123,899,729 ดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 4,275,683,281.33 บาท รวมทั้งการยกเลิกดอกเบี้ยคงค้าง (Haircut) สำหรับหนี้ทางการค้าที่ค้างชำระจำนวน 100,839,458 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 3,479,891,264.89 บาท

อย่างไรก็ดี จากการที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 มีมติไม่อนุมัติการปรับโครง สร้างหนี้ของบริษัทฯตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้และการจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ตามโครงการแปลงหนี้เป็น ทุนตามที่ได้มีการตกลงกับกลุ่ม SSG จากนั้นกลุ่ม SSG ได้ติดตามและสอบถามโดยตลอดถึงแนวทางในการดำเนินการของบริษัทฯ ว่าจะมีข้อเสนอในการชำระหนี้การค้าข้างต้นให้แก่กลุ่ม SSG ได้อย่างไร และต่อมาเมื่อวันที่ 4 ต.ค.60 ACO I ได้ส่งหนังสือทวงถามและขอให้บริษัทชำระหนี้ และแจ้งว่าหากไม่สามารถมีข้อเสนอชำระหนี้ที่เป็นที่ยอมรับได้ก็จะดำเนินการทางกฎหมายตามความจำเป็นและสมควร รวมถึงการบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย

ต่อมาวันที่ 5 พ.ย.60 ACO I ได้ส่งหนังสือทวงถามฉบับที่ 2 ขอให้ทางบริษัทฯ ขอให้ชำระหนี้ทั้งจำนวนภายในวันที่ 13 พ.ย.60 ภายในเวลา 17.00 น. มิเช่นนั้น ACO I จะดำเนินการตามกฎหมายทันที

นอกจากั้น บริษัทยังได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากเจ้าหนี้อีกจำนวน 2 ราย คือ หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ค่าไฟฟ้า พร้อมเบี้ยค่าปรับตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เป็นเงินจำนวน 158,238,694.62 บาท ลงวันที่ 9 ต.ค.60 ซึ่งบริษัทค้างชำระมาตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.60 และหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ค่าไฟฟ้าลงวันที่ 5 ต.ค.60 จำนวน 982,011,306.39 บาท โดยบริษัทฯ ค้างชำระค่าไฟฟ้าดังกล่าวมาตั้งแต่ ธ.ค.54

ทั้งนี้ ตามงบการการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ณ วันที่ 30 ก.ย.60 บริษัทมีหนี้สินรวมทั้งหมด 17,622 ล้าน บาท โดยแบ่งเป็นหนี้กลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.หนี้สินหมุนเวียน จำนวน 4,047 ล้านบาท เช่น เจ้าหนี้การค้า 1,384 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1,151 ล้านบาท 2. หนี้สินที่ผิดนัดชำระหนี้ 11,949 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียนทั้ง จำนวน และ 3.หนี้สินไม่หมุนเวียน จำนวน 1,626 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทมีหนี้สินที่ผิดนัดชำระจำนวนมาก

ในการนี้ บริษัทฯได้พยายามหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น การแปลงหนี้เป็นทุนตามที่ได้มีการ นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติไม่อนุมัติการ ดำเนินการตามโครงการการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถชำระหนี้ จำนวน 226,331,648 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิด เป็น 7,810,529,136.75 บาท ตามแผนการที่วางไว้

การหานักลงทุนรายใหม่เข้ามาช่วยแก้ไขฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ซึ่งในเรื่องนี้ บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามหานัก ลงทุนรายใหม่ ภายหลังจากที่ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติไม่อนุมัติการดำเนินการตามโครงการการแปลงหนี้เป็นทุน แต่เนื่องจาก จำนวนหนี้ของบริษัทฯมีจำนวนที่สูงมาก ประกอบกับความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีก จึงทำให้ไม่มีนักลงทุนราย ใดให้ความสนใจ

การหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น การกู้ยืมเงินจากสถาบัน เนื่องจาก บริษัทฯยังมีผลประกอบการขาดทุนจากการดำเนิน ธุรกิจปกติ (ไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้และรายได้อื่น) มาโดยตลอด และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินกิจการในงวดใน ระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับหนี้สินรวม อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องจากบรรดาเจ้าหนี้อื่นๆ เช่น ACO I จึงเป็นข้อจำกัด สำหรับบริษัทฯ ในการจัดหาแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ

ปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทได้จากการสนับสนุนเงินกู้ผ่านเจ้าหนี้การค้า และคู่ค้า ในการสนับสนุนการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อการผลิต (Collateral Management Agreement - CMA) แต่ต้นทุนทางด้านการเงินจากแหล่งดังกล่าวนี้ค่อนข้างสูง ทำให้ ไม่สามารถแข่งขันกับราคานำเข้า HRC ในบางช่วงได้ นอกจากนั้นการขาดเงินทุนหมุนเวียนยังทำให้บริษัทขาดศักยภาพในการบริหาร จัดการสินค้าสำเร็จรูป (HRC)และการต่อรองกับคู่ค้า เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องขายเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการถึงแม้ว่าราคา HRC ขณะนั้นเพิ่มหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

จากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีแนวทางแก้ไขปัญหา 2 ทาง คือ 1.ขอหารือกับกลุ่ม SSG อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้น โครงการแปลงหนี้เป็นทุนอีกครั้ง ซึ่งในกรณีนี้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอีกคือ การคัดค้านจากผู้ถือหุ้นบางกลุ่ม ซึ่งกลุ่ม SSG อาจยังมีความกังวลในเรื่องดังกล่าวอยู่ ซึ่งตราบใดหากบริษัทไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการคัดค้านจากผู้ถือหุ้นบางกลุ่มได้ ความเป็นไปได้ในการที่กลุ่ม SSG จะเข้ามาเริ่มต้นเริ่มต้นโครงการแปลงหนี้เป็นทุนอีกครั้งจึงมีน้อยมาก

2. การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้บริษัทตกอยู่ในสภาวะล้มละลายและเป็นการ รักษาสิทธิและสถานะของผู้ถือหุ้น (โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ฯ) ที่อาจจะต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้ง หมดถ้าบริษัทฯ ถูกฟ้องล้มละลาย กล่าวคือ เมื่อศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะ ได้รับความคุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งและคดีล้มละลาย และการงดให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายใต้เงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนด และตัวลูกหนี้เองก็ถูกห้ามมิให้ชำระหนี้หรือก่อหนี้และกระทำการใดๆ ในทางที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน

นอกจากการดำเนินการที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจตามปกติของบริษัทฯ โดยในช่วงของสภาวะการพักการชำระหนี้โดย ผลของกฎหมาย (Automatic Stay) จะให้โอกาสและระยะเวลาช่วงหนึ่งแก่ลูกหนี้ในการพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาของกิจการ ตลอดจนการเจรจาหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูโดยไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับเพื่อชำระหนี้ โดย ระยะเวลาในการเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้บริษัทฯ ตกอยู่ในสภาวะล้มละลายและเป็นการรักษาสิทธิและสถานะของผู้ถือหุ้น (โดยเฉพาะผู้ถือ หุ้นที่เป็นนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ฯ) และเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ถือหุ้นของ บริษัทฯ ให้มากที่สุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 11/2560 เมื่อวันที่ 13 พ.ย.60 เห็นควรอนุมัติให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

สถานการณ์ทางการเงิน ณ ปัจจุบัน บริษัทไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ที่มีการทวงถามข้างต้น และนอกจากนี้ บริษัทยังมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องล้มละลายหรือถูกยึดทรัพย์ตามคำพิพากษาโดย Cargill ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในจำนวน 93.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษา) ซึ่งเป็นจำนวนหนี้สูงมาก ซึ่งหาก ACO I และ/หรือ Cargill ใช้สิทธิตามกฎหมาย จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทฯ และธุรกิจ เช่น หาก Cargill ดำเนินการขอออกหมายบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์สินของบริษัทฯจะส่งผลให้ต้องปิดกิจการและลูกค้าอาจยกเลิกใบสั่งซื้อสินค้า และหากมีการยื่นฟ้องล้มละลาย บริษัทฯอาจต้องยุติการประกอบธุรกิจในทันที นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก เพราะบริษัทฯ ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะใช้คืนเจ้าหนี้

ในส่วนของหนี้ของ Cargill นั้น หาก ACO I และ/หรือ Cargill จะสามารถบังคับยึดทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อ ขายทอดตลาดและนำมาชำระหนี้ได้ทันที เนื่องจาก Cargill ได้ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวและศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้ Cargill ชนะคดีแล้ว และบริษัทฯก็ไม่มีกระแสเงินสด หรือแหล่งเงินกู้ใดๆ ที่จะรองรับการจ่ายภาระหนี้ดังกล่าวได้

โดยรายละเอียดของสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2557 จนถึง ณ ปัจจุบัน (ไตรมาส 3/2560 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2560) ปรากฏ ดังนี้

ปี                                 2557               2558              2259        30 ก.ย.2560
หน่วย: บาท
สินทรัพย์รวม               21,919,091,668     19,442,088,148   18,813,890,049     17,995,194,223
หนี้สินรวม                 17,279,368,913     18,082,557,519   18,551,140,298     17,622,155,690
ส่วนทุน                    4,639,722,755      1,359,530,629      262,749,751        373,038,533
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน                   3.72              13.30            70.60              47.24
รายได้รวม                 9,621,186,144     10,782,594,420   10,198,674,553     10,485,677,410
กำไรสุทธิ               (1,944,049,731.0)    (3,280,192,129)  (1,096,780,878)       110,288,781
ดอกเบี้ยจ่าย                   403,849,258       522,757,629       578,824,912       604,225,252
EBITDA                    (638,985,802)    (1,869,441,857)      366,987,129       606,548,848

ผลการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่ปี 57 ซึ่งเป็นปีทีบริษัทกลับมาผลิตใหม่ โดยได้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากคู่ค้า ผ่านวิธีการ CMA ซึ่งเป็นต้นทุนการเงินที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการเงินจากสถาบันการเงิน ทำให้ผลประกอบการบริษัทขาดทุนมาโดยตลอดดังตารางข้างต้น ยกเว้นผลการดำเนินงาน 9 เดือนของปี 60 บริษัทมีผลการดำเนินงานเป็นบวกเล็กน้อยเนื่องจากการปรับปรุงรายการทางบัญชีจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในอดีต จำนวน 764 ล้านบาท ในไตรมาส 1 หากไม่รวมรายการดังกล่าว งวด 9 เดือน ปี 2560 จะขาดทุนเป็นจำนวน 654 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี แม้ว่า ณ งบการเงินไตรมาส 3/60 จะปรากฏส่วนของทุนของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ จะเป็นบวกจำนวน 373 ล้านบาท แต่บริษัทฯยังมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Contingent liabilities) ที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้า (เศษเหล็ก(Scrap Steel)) จากคู่ค้าที่ยกเลิกไม่ได้ จำนวน 1,276 ล้านบาท และหากบริษัทฯถูกฟ้องล้มละลายจากเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจำนวนดังกล่าวจะกลายเป็นหนี้สิน (Liabilities) ของบริษัทฯ ทันที

เนื่องจาก บริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้สินตามที่ได้มีการสั่งซื้อ นอกจากนี้ บริษัทยังมีสินค้า (เศษเหล็ก (Scrap Steel)) ที่อาจถูกยักยอก ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์ อีกประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบสวน จากเจ้าหน้าที่รวมถึงการสรุปความผิดที่ชัดเจน ดังนั้น แม้ส่วนของทุนจะเป็นบวกแต่เมื่อหักหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต(Contingent liabilities) และหักสินค้า(เศษเหล็ก (Scrap Steel)) ที่อาจถูกยักยอก ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์ บริษัทฯ จะอยู่ในภาวะที่มี หนี้สินจำนวน 19,198 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าทรัพย์สิน 1,203 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุในการขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทได้

อย่างไรก็ดี แม้บริษัทฯ จะต้องเข้าสู่กระบวนการการขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ ขอเรียนว่าการดำเนินการดัง กล่าวมิได้มีผลต่อการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทฯเนื่องจากบริษัทจะยังสามารถผลิตสินค้าและส่งมอบให้ลูกค้าได้ปกติโดยใช้เงินทุนหมุน เวียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะจากการดำเนินงานที่ผ่านมารายได้จากการผลิตและขายสามารถชำระค่าวัตถุดิบได้อย่างปกติ แต่ไม่ สามารถชำระหนี้การค้าที่ผิดนัดตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 51 ได้เท่านั้น โปรดสังเกตว่า EBITDA เป็นบวกตั้งแต่ปี 59 เป็นต้น มา เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียนที่จะทำให้บริษัทผลิตเต็มกำลังการผลิตที่ 120,000 ตันต่อเดือน(ปัจจุบันบริษัทผลิตที่ 60,000 ตันต่อเดือน)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ