(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ยังมีโมเมนตัมเป็นบวก ลุ้นทดสอบ 1,800 จุด,ตลาดภูมิภาคปรับขึ้นขานรับคาดการณ์เฟดชะลอขึ้นดบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday January 8, 2018 09:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังมีโมเมนตัมเป็นบวกอยู่ ทำให้ดัชนีฯน่าจะปรับขึ้นได้ และมีโอกาสที่จะขึ้นทดสอบระดับ 1,800 จุดอีกครั้ง แต่ก็คงจะยังไม่ผ่านในระยะอันใกล้นี้ เนื่องจากตลาดฯได้ปรับขึ้นแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา และนักลงทุนต่างชาติก็มีการขายทำกำไรบ้างแล้ว แม้แต่กองทุนก็เริ่มขายออกบ้างเมื่อใกล้ระดับ 1,800 จุด อย่างไรก็ดี มองว่าแรงซื้อจากกองทุนยังน่าจะมีมาช่วยพยุงดัชนีฯไว้ได้

แม้ว่าในเดือนนี้จะมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนแต่ก็คงเป็นแค่บางส่วน เนื่องจากคนมองตลาดฯบวก จากที่ดัชนีฯทำ New High ทำให้บางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องรีบไถ่ถอนหน่วยลงทุน แต่ทั้งนี้ระยะสั้นดัชนีฯปรับขึ้นเร็วก็อาจมีการปรับฐานก่อน

นอกจากนี้ ในช่วงปลายสัปดาห์อาจมีแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มแบงก์ เนื่องจากเริ่มจะมีการทยอยประกาศผลประกอบการออกมา ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างอยู่ในแดนบวกกัน ตามตลาดสหรัฐฯที่บวกได้มากกว่า 200 จุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากการคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯออกมาขยายตัวน้อยกว่าที่ตลาดฯคาดไว้

พร้อมให้แนวรับ 1,787 จุด ส่วนแนวต้าน 1,803 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

  • ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (5 ม.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,295.87 จุด พุ่งขึ้น 220.74 จุด (+0.88%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,743.15 จุด เพิ่มขึ้น 19.16 จุด (+0.70%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,136.56 จุด เพิ่มขึ้น 58.64 จุด (+0.83%)
  • ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 0.20 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 80.45 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 19.29 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 13.18 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 9.17 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.77 จุด

ด้านตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันฉลองบรรลุนิติภาวะ

  • ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (5 ม.ค.61) 1,795.45 จุด เพิ่มขึ้น 4.43 จุด (+0.25%)
  • นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,991.76 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ม.ค.61
  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (5 ม.ค.61) ปิดที่ระดับ 61.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 57 เซนต์ หรือ 0.9%
  • ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (5 ม.ค.61) ที่ 5.93 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • เงินบาทเปิด 32.13 แข็งค่าต่อเนื่องในรอบ 3 ปี จากเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร มองกรอบวันนี้ 32.10-32.20
  • "คณิศ" ยันปี 61 อีอีซีเดินหน้าลงทุนจริง 5 โครงสร้างพื้นฐาน "รถไฟความเร็วสูง-สนามบินอู่ตะเภา-ศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือมาบตาพุด" พร้อมดึงนักลงทุนรายใหญ่ระดับโลกเพิ่มอีก "30 บริษัท" คาดปีนี้ เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้าน รุกปฏิรูปการศึกษาอาชีวะ ผลิตแรงงานป้อนพื้นที่อีอีซี
  • สัญญาณบวกเศรษฐกิจฟื้น หนุนท่องเที่ยวปีนี้โต 10% วางเป้าหมายรายได้ 3 ล้านล้าน ชี้ปัจจัยสายการบินโลว์คอสท์บูม กระตุ้นตลาดขยายตัว แนะพัฒนาระบบไอทีเสริมแกร่งกลยุทธ์ท่องเที่ยว ขณะ สทท.ประเมินไตรมาสแรกต่างชาติโต 5%
  • อดีต รมว.คลัง เตือนรัฐบาลลดบทบาท กฟผ.-ปตท. ให้เอกชนคุมธุรกิจพลังงานแทน ระวังเปิดช่องทุนใหญ่ นายแบงก์ โบรกเกอร์ ที่อยู่เบื้องหลังนโยบาย เข้ากอบโกยผลประโยชน์ ทางแก้ ห้ามอุ๊บอิ๊บ ต้องตีกรอบเอกชนไม่ให้อำนาจผูกขาด เปิดเสรีอย่างแท้จริง ไม่คุ้มครองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เผยขณะนี้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการประเมินตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยปี 2560 ที่ผ่านมา จากเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 10% เมื่อเทียบกับค่าเงินบาทในปี 2559 ผู้ส่งออกรายได้หายไปจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐประมาณ 3.5 แสนล้านบาท
  • สมาคมตราสารหนี้ไทย (Thai BMA) เปิดเผยว่า 3 วันทำการแรกของปี 2561 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้รวมทั้งสิ้น 3.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นซื้อ ในวันที่ 3 ม.ค. จำนวน 3,359 ล้านบาท วันที่ 4 ม.ค. 1.1 หมื่นล้านบาท และวันที่ 5 ม.ค. 2 หมื่นล้านบาท การเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยของต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นปี 2560 มียอดซื้อสุทธิอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท
  • บล.เอเซีย พลัส มองแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 61 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง เพราะได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนโครงการเมกะโปรเจคท์ของภาครัฐ ทั้งโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยออกสู่พื้นที่ใหม่มากขึ้น
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เตรียมชง ครม. เคาะ 3 มาตรการ 9 โครงการ วง
เงินสินเชื่อรวม 9.5 หมื่นล้านบาท ดูแลเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนในโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เฉียด 4 ล้านราย
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำกรณีที่คณะ

กรรมการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำจากสามฝ่าย (ไตรภาคี) จะเรียกประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหญ่ ไตรภาคี เพื่อมีมติปรับขึ้นค่า

แรงขั้นต่ำในเดือน ม.ค.นี้ โดยที่ผ่านมาไตรภาคีเคยพิจารณาว่าอาจจะปรับขึ้นใน 2-15 บาท ตามพื้นที่แต่ละจังหวัด เรื่องนี้ ส.อ.ท.

ต้องการให้คณะกรรมการไตรภาคีที่มีตัวแทนของนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ ขอให้ยึด

หลักเกณฑ์ที่เคยทำมาในช่วงที่ผ่านมาและต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ร่วมด้วย

*หุ้นเด่นวันนี้

  • SVOA (ฟินันเซีย ไซรัส) น่าสนใจทั้ง Valuation และการเติบโต โดยกำไร 9M60 อยู่ที่ 126 ล้านบาท +78% Y-Y จากการได้งานใหญ่ของภาครัฐฯ ซึ่งยังมีการรับรู้ต่อเนื่องใน Q4/60 เบื้องต้นคาดกำไรสุทธิ 29 ล้านบาท หนุนกำไรทั้งปี 2560 สูงสุดในรอบ 10 ปีที่ 155 ล้านบาท +112% Y-Y ส่วนกำไรปี 2561 คาดโตตามการลงทุนของแบงก์ เพราะ SVOA เป็นผู้นำระบบ ATM, Payment, และ Digital Banking ในเชิง Valuation ถือว่า Downside จำกัดมาก
  • AAV (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 7.30 บาท มองบวกกับภาพรวมอุตสาหกรรมการบินที่ดีขึ้นในปี 2561 จากโมเมนตัมเชิงบวกของจำนวนนักท่องเที่ยวที่โตต่อเนื่อง และการฟื้นกลับมาโตโดดเด่นของนักท่องเที่ยวจีน โดย AAV ตั้งเป้าผู้โดยสารที่ 22.8 ล้านคน โต 15% Y-Y และรับเครื่องบินเพิ่มอีก 7 ลำ เป็น 63 ลำ รองรับการเพิ่มความถี่ และเปิดเส้นทางใหม่ท้ง Domestic, CLMV และอินเดีย รวมถึงเน้นเที่ยวบินข้ามภาค และผลักดันรายได้จากบริการเสริมเพิ่มขึ้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่มีผลต่อนโยบายและแผนธุรกิจเดิม อีกทั้ง ยังช่วยให้การบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยระยะสั้นมีปัจจัยหนุนจากแนวโน้มกำไร Q4/60-Q1/61 ที่จะโตแข็งแกร่งจาก High Season และได้ประโยชน์จากมาตรการภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมื่อรอง
  • JWD (กสิกรไทย) "ซื้อ"เป้า 14 บาท ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปี 2561 ไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อนที่คาดว่าจะมีรายได้ 2.4-2.5 พันล้านบาท ขณะที่ NPM ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อนที่คาดว่าจะอยู่ในระดับ 8-9% โดยจะได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตต่อเนื่องของธุรกิจปัจจุบัน รวมถึงการลงทุนใหม่ทั้งในรูปของ M&A และ JV โดยปีนี้จะเน้นไปที่ประเทศเวียดนาม รวมถึงพิจารณาขยายการลงทุนไปในประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เพื่อเดินตามแผนระยะกลางที่จะมีพื้นที่การให้บริการ 9 ประเทศในอาเซียน (ไม่รวมบรูไน) ขณะที่รายได้ตั้งเป้า 5.0 พันล้านบาท ในปี 2563 แม้จะเป็นแผนที่น่าตื่นเต้น แต่ไม่เป็นข่าวใหม่
  • SCB (ยูโอบี เคย์เฮียน) ธนาคารใหญ่ที่ Laggard ที่สุดในปี 2560 โดยปรับขึ้นเพียง 3% ขณะที่ธนาคารใหญ่อื่นปรับขึ้น 22-35% ทำให้คาดมีแรงทำกำไรต่ำ ขณะที่มีโอกาสเป็นเป้าหมายการทยอยซื้อของนักลงทุน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ