(เพิ่มเติม) ADVANC หนุนไทยสู่ Digital Intelligent Nation รองรับเติบโตยั่งยืน คาดใช้ 5G เชิงพาณิชย์ปี 64

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday February 1, 2019 16:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ AIS ประกาศวิสัยทัศน์ปี 62 เดินหน้านำศักยภาพจากเทคโนโลยี Digital Intelligent ในรูปแบบ Platform ที่พร้อมเป็นรากฐานให้เกิด Innovation และ Digitalization แก่ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic และ IoT เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ทุกภาคส่วน โดยยืนยันความพร้อมเป็น Digital Platform ภายใต้แนวคิด "SHARING DIGITAL ECONOMY PLATFORM-เศรษฐกิจ Digital แบบแบ่งปัน" ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทุกอุตสาหกรรม ในทุกระดับ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายบทบาทสู่การเป็น Digital Platform เพื่อประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดให้ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อผ่าน Digital Platform และทำงานร่วมกันในลักษณะของ Ecosystem ก่อให้เกิดพลังในการขยายขีดความสามารถสร้างสรรค์ Innovation หรือ บริการ Digital ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กรณีของการสร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ IoT Ecosystem ผ่าน AIS IoT Alliance Program – AIAP : โครงการความร่วมมือของสมาชิกจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ IoT ซึ่งหลังจากเปิดตัวในปี 61 จนถึงวันนี้ สามารถสร้างสรรค์ IoT Solution และ Business Model ที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการ ได้อย่างครอบคลุมและขยายเครือข่ายสมาชิกไปมากกว่า 1,000 ราย จากจุดเริ่มต้นเพียง 70 ราย

นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังไม่มี business case ที่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่า 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ADVANC กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการกระจานเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรทัศน์ (กสทช.) เตรียมจัดการประมูลคลื่นความถี่สำหรับบริการ 5G แต่เห็นว่าไทยอาจจะติดกับดักหากทำ 5G เร็วเกินไป

"ไม่ใช่ เอไอเอส ไม่ต้องการ 5G แต่ เอไอเอสหวั่นติกดับดักลงทุน 5G เร็วเกินไป ควรจะลงทุน 5G เมื่อเวลาเหมาะสม Network 4Gวันนี้ยังตอบรับผู้บริโภค 2G 3G ก็ยังมีการใช้งานอยู่"นายสมชัย กล่าว

เอไอเอสมองว่า การประมูลคลื่นสำหรับ 5G เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าการลงทุนซึ่งพิจารณา ความต้องการใช้งาน พิจารณาราคาประมูลรวมทั้งสภาพการแข่งขัน อย่างไรก็ดีการประมูลคลื่นครั้งนี้ต่างกับครั้งก่อน และต้องพิจารณาเงื่อนไขการขำระเงินด้วย เพราะขณะนี้บริษัทมีภาระการชำระเงินคลื่น 900 MHz ที่ต้องชำระเงินมหาศาลในปี 63 ขณะที่ในจีนและเกาหลีใต้รัฐบาลได้ให้คลื่นความถี่กับเอกชนไปพัฒนา และประเทศอื่นก็ประมูลคลื่นกันเพียงหลักร้อยล้านบาท

นายสมชัย กล่าวว่า แนวทางดำเนินธุรกิจของเอไอเอสในช่วง 5 ปีข้างหน้า เอไอเอสจะสร้าง Digital Platform เพื่อให้ทุกกลุ่มสามารถเชื่อมต่อได้ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร อาทิ Content ที่ธุรกิจทีวีดิจิทัลสามารถใช้ Platform หาเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มเติมจากฟรีทีวี ,ธนาคารที่สามารถใช้ช่องทาง Platform เป็นเอเย่นต์ในการปล่อยกู้ให้กับรายย่อย

รวมทั้งจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับพันธมิตรต่อยอดทำรายได้ โดยข้อมูล 80-90%เป็น Content ไทย โดยปัจจุบันมีพันธมิตร 1,034 ราย ขณะที่เอไอเอสมีลูกค้า 41 ล้านคน

"ในปีนี้ จะร่วมมือกับพันธมิตร วิเคราะห์ความต้องการลูกค้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มาสร้างฐานลูกค้า...ในช่วง 2ปีที่ผ่านมา AIS VISION เราจะเปิดตัวพาร์ทเนอร์มาสร้างดิจิทัล เราจะ Transform ไปสู่ Digital Service"นายสมชัย กล่าว

นายสมชัย กล่าวว่า แนวโน้มมีการใช้ Data สูงขึ้น โดยมีการใช้ถึง 60% หรือมีปริมาณการใช้ 11.6 GB/เดือน และมีระยะเวลาใช้อินเตอร์เน็ต 6 ชม./วันในปี 61 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 58 ที่ใช้ 3 ชม./วัน

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป ADVANC. กล่าวว่า แนวโน้มการใช้ Data ปีนี้เติบโตต่อเนื่อง ส่วนระบบ 5G ในไทยเห็นว่ามาถูกทางแล้วที่ขณะนี้เริ่มมีการทดลองใช้ ซึ่ง 5G พัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมใหม่ S-Curve ซึ่งโอเปอเรเตอร์จำเป็นต้องเตรียมตัว และต้องใช้เวลาพัฒนา รอเวลาที่เหมาะสม คาดว่า 2-3 ปีน่าจะนำมาใช้เชิงพาณิชย์ได้

นายฮุย เว็บ ชอง กรรมการผู้อำนวยการ ADVANC กล่าวว่า เอไอเอสความพร้อมด้านงานบริการในยุคดิจิทัล ที่ผ่านมาได้ทยอยนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Machine Learning, Robotic มาอยู่ในกระบวนการให้บริการลูกค้า โดยปีนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยแนวคิด Unman Service ซึ่งจะเปิดตัวให้ได้สัมผัสอย่างต่อเนื่องตลอดปีนี้ โดยนำร่องแห่งแรกที่ภูเก็ตในต้นเดือน ก.พ. นี้

ส่วนการพัฒนาเครือข่าย Digital อย่างกรณีของ Mobile ซึ่งมีคลื่นความถี่มากที่สุดถึง 120 MHz (60MHzx2) อย่างไม่หยุดยั้ง ดังเช่นปีนี้ได้เริ่มนำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Wifi6 (802.11ax) มาเริ่มให้บริการในชื่อ AIS Super Wifi+ ที่จะมอบความเร็วได้ถึง 4.8 Gpbs เพิ่มความสามารถในการรองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้มากถึง 8 เท่า ตอบโจทย์การเติบโตของ IoT โดยในส่วนของ Fix Broadband นั้น นอกจากจะขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง ยังเสริมความแข็งแกร่งการบริการ ICT เพื่อองค์กร ที่จะส่งมอบผ่าน CS LoxInfo ในรูปแบบของ One Stop ICT Services ด้วย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ