ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม 375,339.50 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday October 7, 2019 14:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (30 กันยายน - 4 ตุลาคม 2562) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 375,339.50 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 75,067.90 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 13% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของ ตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 73% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 272,768 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 87,506 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 9,825 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB28DA (อายุ 9.2 ปี) LB26DA (อายุ 7.2 ปี) และ LB326A (อายุ 12.7 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย ในแต่ละรุ่นเท่ากับ 14,386 ล้านบาท 8,955 ล้านบาท และ 7,734 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด รุ่น KCC209B (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 689 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) รุ่น BJC269A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 452 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) รุ่น PTTEP296A (AAA) มูลค่าการ ซื้อขาย 438 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 1-5 bps. ในทุกช่วงอายุตราสาร ด้านปัจจัยต่างประเทศ ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิต ของสหรัฐลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือนก.ย. 62 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2552 จากระดับ 49.1 ในเดือนส.ค. 62 โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 นั้น บ่งชี้ถึงภาวะการหดตัวในภาคการ ผลิตของสหรัฐ ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ปัจจัยในประเทศ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.ย.62 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.32% ซึ่งเป็นการ เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องค่อนข้างมากจากเดือนก.ค.และส.ค.ที่ผ่านมา เป็นผลจากสินค้าในกลุ่มพลังงานหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะเดียวกันกระทรวง พาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปีนี้ใหม่เป็น 0.7-1.0% จากเดิม 0.7-1.3% ซึ่งคาดว่าทั้งปีนี้เงินเฟ้อจะเฉลี่ยไม่เกิน 0.9%

สัปดาห์ที่ผ่านมา (30 ก.ย. - 04 ต.ค. 62) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 2,202 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ คงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 1,123 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 3,325 ล้านบาท และไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                                    สัปดาห์นี้          สัปดาห์ก่อนหน้า      เปลี่ยนแปลง            สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                  (30 ก.ย. - 4 ต.ค. 62)    (23 - 27 ก.ย. 62)            (%)   (1 ม.ค. - 4 ต.ค. 62)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)              375,339.50           429,414.43        -12.59%          17,031,416.24
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                                 75,067.90            85,882.89        -12.59%              91,077.09
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                      119.99               119.73          0.22%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index)                        105.54               105.71         -0.16%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                    1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (4 ต.ค. 62)                     1.39       1.41     1.4    1.37    1.37     1.45     1.48     1.84
สัปดาห์ก่อนหน้า (27 ก.ย. 62)               1.39        1.4    1.39    1.36    1.38      1.5     1.49     1.88
เปลี่ยนแปลง (basis point)                   0          1       1       1      -1       -5       -1       -4

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ