BCP แจง Q3/63 ขาดทุนลดลงจาก Q2/63 ตามดีมานด์น้ำมันฟื้นหลังคลายล็อกดาวน์

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday November 11, 2020 11:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 3/63 ว่า มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการใช้น้ำมันเริ่มฟื้นตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น แต่หากเทียบกับปีก่อน ความต้องการใช้น้ำมันลดลงอย่างมากและยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่จากโควิด-19 ขณะที่ผลดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ชีวภาพยังคงเติบโตต่อเนื่อง ช่วยลดความผันผวนของผลการดำเนินงาน

อนึ่ง BCP แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3/63 ขาดทุนสุทธิ 647.02 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 369.8 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/63 ขาดทุนสุทธิ 1.91 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 528.12 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท

นายชัยวัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/63 กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมันยังคงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และค่าการกลั่น โดยจะเห็นได้จากค่าการกลั่นพื้นฐานในเดือน มิ.ย.ที่ 6.19 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ในเดือน ก.ย.ลดลงมาอยู่ที่ 0.89 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ไตรมาสนี้มีค่าการกลั่นพื้นฐาน 2.33 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล-ดูไบ (GO/DB) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต โดยการจัดหาน้ำมันดิบได้ในราคาถูกกว่าราคาตลาดจากผู้ค้าน้ำมันที่สต๊อกน้ำมันไว้ในช่วงที่ราคาถูก อีกทั้งมีการปรับสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มค่าการกลั่น รวมทั้งได้ปรับเพิ่มกำลังการผลิตมาอยู่ที่ 95,300 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 79% ของกำลังการผลิตรวมของโรงกลั่น

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ธุรกิจโรงกลั่นมี Inventory Gain (รวมกลับรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ (NRV)) จำนวน 269 ล้านบาท ทำให้ผลการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้น

ในส่วนของธุรกิจการค้าน้ำมันโดยบริษัท BCP Trading จำกัด มีธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำไรขั้นต้นปรับลดลง โดยหลักๆ มาจากกำไรขั้นต้นของผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันเตาเกรดกำมะถันต่าตามมาตรการ IMO ปรับลดลง เนื่องจากอุปทานในตลาดปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19

กลุ่มธุรกิจการตลาด ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/63 มี EBITDA 766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายในส่วนของตลาดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ประกอบกับ บริษัทมีการผลักดันการจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ด้านตลาดอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบหลักจากความต้องการใช้น้ำมันเครื่องบินที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ค่าการตลาดรวมสุทธิปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสัดส่วนการจำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีกที่มีค่าการตลาดสูงกว่าการจำหน่ายผ่านตลาดอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ มี Inventory Gain จำนวน 3 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดด้านปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการสะสมเดือน ม.ค.-ก.ย.63 อยู่ที่ 15.6% (ตามข้อมูลกรมธุรกิจพลังงาน)

นอกจากนี้ บริษัทยังคงขยายจำนวนสถานีบริการตามแผนการลงทุนให้สามารถรองรับกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/63 มีสถานีบริการน้ามันทั้งสิ้น 1,223 สถานี ในส่วนของธุรกิจค้าปลีกได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้รับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว

กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ผลการดำเนินงานเติบโตเพิ่มขึ้นจากการที่ บมจ. บีซีพีจี (BCPG) ได้ขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ทำให้มีปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้ารวมเพิ่มขึ้น 78% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น 227% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักๆ มาจากการจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาว ช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ ประกอบกับการเริ่มรับรู้รายได้จากการเข้าซื้อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยจำนวน 4 โครงการ กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 20 เมกกะวัตต์ โดยการลงทุนนี้ช่วยชดเชยผลกระทบจากการเข้าสู่ฤดูฝน

นอกจากนี้ ปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากไม่มีการหยุดรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น และมีการรับรู้ส่วนแบ่งกาไรจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท BCPG ได้อนุมัติแผนการเพิ่มทุนจดทะเบียนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 1.3 พันล้านหุ้น คาดว่าจะได้เงินทุนเพิ่มราว 1.02 หมื่นล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี นอกจากนี้เงินเพิ่มทุนบางส่วนจะถูกนำไปใช้ชาระคืนเงินกู้ยืมที่มีอยู่ ทาให้โครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ภายใต้การดำเนินงานของ บมจ.บีบีจีไอ ในไตรมาส 3/63 มี EBITDA รวม 390 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดย ธุรกิจไบโอดีเซล มีกำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้น 53% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น 146% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบได้ดีขึ้น โดยมีปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ B100 เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และจากการจาหน่ายน้ามันดีเซล B10 ที่เพิ่มขึ้นจากการกำหนดให้น้ามัน B10 เป็นน้ามันดีเซลพื้นฐาน

ด้านธุรกิจเอทานอล ผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอทานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายน้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์ของบริษัทที่ปรับเพิ่มขึ้น หลังการเปิดตัว แก๊สโซฮอล์ S EVO Family ในขณะที่ความต้องการใช้เอทานอลเกรดอุตสาหกรรมเพื่อนำไปผลิตเจลแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคปรับลดลง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นลดลง สำหรับผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยขณะที่กำไรขั้นต้นปรับลดลง สาเหตุมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาส 3 ของปีก่อน บริษัท KGI มีการปรับปรุงต้นทุนวัตถุดิบกากน้ำตาลลงมากกว่าในปีนี้ ตามการประกาศราคาเฉลี่ยกากน้ำตาลที่จำหน่ายภายในประเทศ นอกจากนี้บมจ. บีบีจีไอ ได้เข้าลงทุนในบริษัทซึ่งจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา และดำเนินธุรกิจในเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ประเภท Bio-ingredients

กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ มี EBITDA ขาดทุน 58 ล้านบาท ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 118 ล้านบาท เป็นการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม OKEA ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้ารับรู้ส่วนแบ่งกาไร โดย OKEA มีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันดิบและราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิด-19 แต่มีการรับรู้ ผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากไตรมาสก่อน อีกทั้งมีการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยหลักมาจากสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของแหล่ง Yme เนื่องจากมีการเลื่อนแผนการผลิตและการใช้เงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นและมีการรับรู้รายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ซึ่งช่วยลดผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส ทั้งนี้ OKEA ได้เข้าร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียม Calypso และ Aurora (ที่อยู่ใกล้กับแหล่ง Draugen และ Gjoa ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการผลิตจากการ synergy ร่วมกันได้) ซึ่งอยู่ในระหว่างการสำรวจและเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาสู่การผลิตได้ในอนาคต โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2563 มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนใน OKEA มีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าตามราคาตลาด (Market value)

ขณะที่ผลประกอบการใน 9 เดือนแรกของปี 63 บริษัทมีรายได้ 103,317 ล้านบาท ลดลง 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มี EBITDA 1,354 ล้านบาท ลดลง 78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มี Operating EBITDA 6,407 ล้านบาท โดยมี Inventory Loss 4,887 ล้านบาท (รวมขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ (NRV) 28 ล้านบาท) และมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ 2,490 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจสารวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งการด้อยค่าตามมาตรฐาน TFRS 9 จานวน 913 ล้านบาท ส่งผลให้งวด 9 เดือนแรก มีการขาดทุนสุทธิส่วนของบริษัทใหญ่ 7,219 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 5.59 บาท

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ามันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกยังคงทรงตัวและมีความผันผวน จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป จนทำให้ต้องประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง คาดว่าจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์การใช้น้ามันชะลอตัวลง เป็นปัจจัยกดดันให้ค่าการกลั่นทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งกระทบกับธุรกิจโรงกลั่น ขณะที่กลุ่มธุรกิจการตลาดมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ความต้องการใช้น้ามันในประเทศเริ่มฟื้นตัว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นกาลังซื้อภายในประเทศ

นอกจากนี้ มาตรการด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการประกาศวันหยุดพิเศษ หรือนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติประเภทพิเศษ คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 64 จะสามารถกลับมาขยายตัวได้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญที่มีแนวโน้มขยายตัว การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว และการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

"ที่ผ่านมา เราสามารถลดค่าใช้จ่ายตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การที่ยังไม่มีใครบอกได้ว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกจะคลี่คลายลงเมื่อใดและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ทาให้เราต้องตั้งตัวให้อยู่ในความพร้อมที่จะรับมือกับโลกอันผันผวนนี้ ได้ตลอดเวลา พร้อมรองรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นครับ" นายชัยวัฒน์ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ