ฟิทช์ คงเครดิต BAY ที่ BBB+ เครดิตในประเทศ AAA(tha) แนวโน้มมีเสถียรภาพ

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday July 27, 2022 17:49 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่ 'BBB+' และอันดับเครดิตภายภายในประเทศระยะยาวที่ ?AAA(tha)? แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

นอกจากนี้ฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ?F1? อันดับเครดิตสนับสนุนจากจากผู้ถือหุ้น (Shareholder Support Rating: SSR) ที่ 'bbb+' และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ 'bbb'

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

การสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเป็นปัจจัยหนุนหลักของอันดับเครดิต: อันดับเครดิตสากล และอันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY พิจารณาจากอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น (SSR) ซึ่งสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ว่าธนาคารจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ (extraordinary support) จากธนาคารแม่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็คือ MUFG Bank, Ltd ('A-' /แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ/ 'a-') อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของ BAY ที่ 'F1' เป็นตัวเลือกที่สูงกว่า ซึ่งสะท้อนถึงการพิจารณาอันดับเครดิตจากปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและฟิทช์มองว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้นที่ธนาคารแม่จะต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุน

อันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY สะท้อนถึงการพิจารณาเปรียบเทียบกับอันดับเครดิตของสถาบันการเงินอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตเครดิตภายในประเทศจากฟิทช์ โครงสร้างอันดับเครดิตของ BAY ที่ 'AAA(tha)' สะท้อนถึงระดับของโอกาสในการผิดนัดชาระหนี้ที่ต่ำที่สุดสำหรับประเทศไทย

บริษัทลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์กับบริษัทแม่: MUFG มีสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY ที่ 76.9% และมีการเชื่อมโยงในการบริหารงานและผสานการดำเนินงานร่วมกันในระดับสูง อีกทั้ง BAY ยังเป็นหนึ่งในธนาคารลูกในต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่ม และให้บริการด้านการธนาคารแก่กลุ่มลูกค้าของ MUFG ในประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับการลงทุนในภูมิภาคของกลุ่มธุรกิจจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจรายย่อยของ BAY ยังถูกนำมาช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม MUFG ในประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้อีกด้วย

สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานฟื้นตัวจากผลกระทบโรคระบาด: สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนผลการดำเนินงานของภาคธนาคาร โดยฟิทช์คาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) จะอยู่ที่ 3.2% ในปี 2565 และ 4.5% ในปี 2566 อันดับคะแนนด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ ?bbb? แนวโน้มมีเสถียรภาพ โดยมีคะแนนตามเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในกลุ่ม ?bb? แต่ฟิทช์มีการปรับเพิ่มอันดับคะแนนโดยใช้ปัจจัยด้าน ?อันดับเครดิตของประเทศ? ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ ?BBB+?/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ รัฐบาลมีความสามารถและความตั้งใจที่จะช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งสังเกตได้จากมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ในช่วงโรคระบาดโควิด

เป็นธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบภายในประเทศ: อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ของ BAY พิจารณาจากเครือข่ายทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทย BAY เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของประเทศ ด้วยสัดส่วนเงินรับฝากที่ 11% ณ สิ้นปี 2564 และได้รับการกำหนดให้เป็น 1 ใน 6 ธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบภายในประเทศ (D-SIB) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย BAY มีความสามารถในการแข่งขันและส่วนแบ่งการตลาดที่มั่นคงในกลุ่มลูกค้ารายย่อย เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อบัตรเครดิต และการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าธูรกิจบรรษัทข้ามชาติ

คุณภาพสินเชื่อเผชิญแรงกดดันในระยะสั้น: ฟิทช์คาดการณ์ว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2565 จากสัดส่วนสินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือที่ลดลงลดลง (8% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565) ในขณะที่ยังมีผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 3.6% อยู่มาก ซึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ค่อนข้างต่ำ ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของ BAY จะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในระยะสั้น อัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (loan loss allowances coverage) ที่ 176% เมื่อรวมการตั้งสำรองส่วนเพิ่มเพื่อป้องกันความเสี่ยง และเป็นปัจจัยช่วยในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

รายได้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง: ฟิทช์คาดการณ์ว่าอัตราส่วนทางการเงินในด้านความสามารถในการทำกำไรของธนาคารน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นสูงกว่า 2% หลังจากปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.6-1.8% ในปี 2563-2564 การปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของกิจกรรมทางธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะส่งผลให้รายได้จากค่าธรรมเนียมมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และแรงกดดันต่ออัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิก็น่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน อีกทั้งฟิทช์ยังคาดว่าค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากการตั้งสำรองส่วนเพิ่มไปแล้วในอดีต

ฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง: อันดับคะแนนตามเกณฑ์ด้านเงินทุนของ BAY ได้รับการปรับเพิ่มอันดับขึ้นเป็น ?bbb? จาก ?bbb-? เพื่อสะท้อนถึงความสามารถในการเสริมความแข็งแกร่งด้านเงินทุนจากความสามารถในการสร้างกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น (internal capital generation) อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 15.2% ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2565 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ 12.5% ณ สิ้นปี 2561 และเป็นกันชนที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในการรองรับความเสี่ยงและรองรับการเติบโตของสินทรัพย์ในอนาคต

การสนับสนุนจากแม่ช่วยหนุนสภาพคล่อง: อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากมีการปรับสูงขึ้นเป็น 106% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 93% แต่อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งเป็นผลมากจากการออกหุ้นกู้เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของสินเชื่อเช่ารถยนต์ นอกจากนี้ฐานะสภาพคล่องของธนาคารยังได้รับการสนับสนุนจาก MUFG group นอกเหนือจากการช่วยสนับสนุนในการดำเนินการในการจัดหาเงินทุน MUFG ยังให้วงเงินสินเชื่อโดยตรงแก่ธนาคารเพื่อใช้เป็นเงินกู้ให้กับกลุ่มลูกค้าบรรษัทข้ามชาติ

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน): อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอาจถูกปรับลดอันดับหากอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นมีการปรับลดลง

การปรับอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของความสามารถหรือโอกาสในการให้ความช่วยเหลือแก่ BAY การปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ MUFG จะสะท้อนถึงความสามารถในการสนับสนุนที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของ BAY

การปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการเชื่อมโยงของ MUFG และ BAY สามารถบ่งชี้ถึงโอกาสในการให้การสนับสนุนที่ลดลง และนำไปสู่ผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น ตัวอย่างเช่น การลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นของ MUFG ลงมาต่ำกว่า 50% รวมถึงการลดระดับการสนับสนุนทางการเงินและการเชื่อมโยงด้านการบริหารงาน แต่อย่างไรก็ตาม ฟิทช์แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะกลาง

การปรับตัวลดลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินอาจเกิดขึ้นได้จากการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยการพิจารณาด้านการเงินต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวด้อยลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ของภาวะเศรษฐกิจ ควบคู่กับโครงสร้างความเสี่ยงที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ของ BAY ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงขึ้นมากกว่า 4% (ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 2.5%) ควบคู่ไปกับเงินกองทุนทุนที่ลดลง เช่น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ต่ำกว่า 13% (ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 15.2%) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ต่ำกว่า 1.5% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง (ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 2.1%)

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวจะได้รับการปรับอันดับเครดิตในเชิงบวก หากอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของธนาคารมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นจะได้รับการปรับอันดับเครดิตหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวถูกปรับขึ้นมาอยู่ที่ 'A' หรือสูงกว่า

ไม่มีโอกาสที่อันดับเครดิตภายในประเทศจะได้รับการปรับเพิ่มอันดับ เนื่องจากอันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว

อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของธนาคารจะได้รับการปรับเพิ่มอันดับ หาก MUFG มีความสามารถและมีโอกาสที่จะให้การสนับสนุนแก่ BAY เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ MUFG จะส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของ BAY ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเช่นกัน ในกรณีที่สมมุติฐานอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การปรับเพิ่มขึ้นของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อาจเกิดขึ้นได้หาก BAY มีเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนในการได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานที่ดีกว่าธนาคารอื่นในประเทศ ควบคู่ไปกับการรักษาระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง ตัวอย่างเช่น การมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมที่ลดลงต่อเนื่องต่ำกว่า 2% อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่1 ที่ 17% เป็นเวลาต่อเนื่อง และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงกว่า 3.5%

อันดับเครดิตตราสารหนี้และอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BAY สะท้อนถึงภาระผูกพันที่ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร และได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวและอันดับเครดิตภายในประเทศ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารอยู่ 2 อันดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ในการจัดอันดับของฟิทช์ ฟิทช์ใช้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวจากได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ เป็นอันดับเครดิตอ้างอิงของหุ้นกู้ดังกล่าว เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่า MUFG จะให้การสนับสนุนแก่ BAY ก่อนที่จะถึงจุดที่ไม่สามารถดาเนินกิจการต่อไปได้ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันเนื่องจากสถานะด้อยสิทธิของตราสารดังกล่าว หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดาเนินกิจการ (going-concern loss absorption) จึงไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเพิ่มเติมสาหรับความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk)

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน): การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวจะส่งผลในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BAY ไม่มีโอกาสปรับขึ้นได้อีก เนื่องจากอันดับเครดิตอ้างอิง ซึ่งก็คือ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ในระดับที่สูงสุดของอันดับเครดิตภายในประเทศแล้ว

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจถูกปรับเพิ่มอันดับได้หากความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ถือหุ้นกู้ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่าที่จะปรับลดอันดับลงเพียง 1 อันดับ จากอันดับเครดิตอ้างอิง จากระดับปัจจุบันที่ 2 อันดับ แต่อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ไม่คาดการณ์ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะสั้น

การปรับคะแนนของปัจจัยในการพิจารณาอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

คะแนนที่ให้แก่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ 'bbb' อยู่สูงกว่าคะแนนตามเกณฑ์ที่อยู่ในกลุ่ม 'bb' เนื่องจากการปรับเพิ่มคะแนนด้วยปัจจัยด้าน'อันดับเครดิตของประเทศ'

อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ MUFG

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสาหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ