เจาะข้อเสนอปฏิรูปเศรษฐกิจกรีซ - มุมมองสื่อต่างประเทศ-IMF

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 25, 2015 12:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รัฐบาลกรีซได้ยื่นแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้แก่รัฐมนตรีกระทรวงคลังยูโรโซนพิจารณาไปเมื่อวานนี้ โดยรายละเอียดของแผนการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1. การปราบปรามการเลี่ยงภาษี

2. การกำจัดการทุจริต

3. หลีกเลี่ยงการดึงโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ได้มีการเสนอไปแล้วกลับมาทำใหม่ แต่จะพิจารณาเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่ได้มีการนำไปปฏิบัติ

4. การนำมาตรการต่อรองมาใช้ รวมทั้งยกเลิกการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

5. การแก้ปัญหาที่กรีซระบุว่าเป็นวิกฤตด้านมนุษยธรรม ด้วยการรับประกันเรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยและการให้การรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้ว่างงานและไม่ได้ทำประกัน แต่จะไม่มีการขึ้นงบประมาณค่าใช้จ่ายภาคสาธารณะโดยรวม

6. เดินหน้าออมเงินบำนาญด้วยการสนับสนุนกองทุนต่างๆ และยกเลิกการให้ผลประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ที่เกษียณอายุก่อนเวลา โดยไม่ตัดการจ่ายช่วยเหลือออกไป

7. ลดจำนวนกระทรวงลงเหลือ 10 กระทรวง จากเดิมที่มีอยู่ 10 กระทรวง ตลอดจนลดจำนวนที่ปรึกษาพิเศษ และผลประโยชน์เสริมของเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวก่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกันไป โดยนางคริสติน ลาการด์ ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่า แผนการปฏิรูปของกรีซยังขาดหลักประกันที่ชัดเจนในประเด็นสำคัญๆ เช่น การปราบปรามการเลี่ยงภาษีและการทุจริตนั้น ขอให้หน่วยงานใหม่ๆของกรีซใช้แนวทางที่หนักแน่นมากกว่านี้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว

นอกจากนี้ ในบางประเด็นซึ่งดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด รัฐบาลกรีซจะไม่สามารถให้การรับรองได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะปฏิรูปจนเกิดผลเป็นรูปธรรม

ขณะที่ มาร์ค โลเวน ผู้สื่อข่าวบีบีซี นิวส์ มองว่า ในความเป็นจริงแล้ว การแก้ปัญหาระยะสั้นทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีหนี้สาธารณะอยู่เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน ควรจะหาทางออกในระยะยาวด้วย โดยประเด็นเรื่องระยะเวลา 4 เดือนที่ได้มีการอนุมัติให้ขยายขอบเขตเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินออกไปนั้น กรีซจึงเป็นประเด็นที่กลับมาอยู่ในวาระสำคัญของยูโรโซน เพื่อที่จะสรุปหาทางออกและได้มาซึ่งยุทธศาสตร์ระยะยาวสำหรับกรีซ

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของกรีซ มีดังนี้

อัตราว่างงานอยู่ที่ 25% โดยอัตราว่างงานของเยาวชนอยู่สูงถึงเกือบ 50% ขณะที่อัตราว่างงานของเยาวชนของประเทศในกลุ่มยูโรโซนโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 11.4%

เศรษฐกิจกรีซหดตัวลงถึง 25% นับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตยูโรโซน

หนี้สินของประเทศอยู่ที่ 175% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ