กูรูเตือนราคาข้าวตลาดโลกจ่อพุ่งอีก หากไทยลดการเพาะปลูกตามแผนสงวนน้ำ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 3, 2023 14:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก กำลังเรียกร้องให้เกษตรกรภายในประเทศเพาะปลูกข้าวให้น้อยลงเพื่อสงวนน้ำไว้ใช้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวทั่วโลก หลังจากที่อินเดียสั่งระงับการส่งออกข้าวเมื่อไม่นานมานี้

ไทยกำลังเผชิญกับปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในระดับต่ำ และเพื่อเป็นการสงวนน้ำไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้เรียกร้องให้เกษตรกรหันไปเพาะปลูกพืชอื่น ๆ ที่ใช้น้ำน้อย และมีการเก็บเกี่ยวที่รวดเร็ว

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสทนช.กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝนในขณะนี้อยู่ต่ำกว่าระดับปกติประมาณ 40% ซึ่งมีความเสี่ยงสูงว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ พร้อมระบุว่า การบริหารจัดการน้ำของไทยนั้น จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่ "น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค" และ "น้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชที่มีอายุยืนนานหลายปี (perennial crops)"

ทั้งนี้ พืชที่มีอายุยืนนานหลายปี หมายถึงพืชที่สามารถเติบโตได้อีกหลังการเก็บเกี่ยว และไม่จำเป็นต้องปลูกขึ้นใหม่ในทุก ๆ ปี ไม่เหมือนกับบรรดาพืชล้มลุก (annual crops) โดยข้าวได้ถูกจัดอยู่ในหมวดของพืชล้มลุกด้วย

โดยเฉลี่ยแล้วการปลูกข้าวทุก 1 กิโลกรัมนั้น จะต้องใช้น้ำประมาณ 2,500 ลิตร เมื่อเทียบกับการเพาะปลูกพืชทางเลือกอื่น ๆ ในปริมาณ 1 กิโลกรัมที่ใช้น้ำเพียง 650-1,200 ลิตร

ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศห้ามส่งออกข้าวขาวไม่ใช่พันธุ์บาสมาติ (Basmati) เนื่องจากรัฐบาลอินเดียต้องการ ควบคุมราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นภายในประเทศ และรับประกันว่าจะมีปริมาณข้าวราคาเหมาะสมเพียงพอภายในประเทศ โดยการส่งออกข้าวของอินเดียคิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของการค้าข้าวทั่วโลก และคาดว่าคำสั่งห้ามส่งออกข้าวของอินเดียจะส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายล้านคนทั่วโลก

นายออสการ์ ทีจากรา นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัทโรโบแบงก์เปิดเผยกับซีเอ็นบีซีว่า "ราคาข้าวทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากโอกาสที่ไทยจะลดการผลิตข้าวลงอย่างมีนัยสำคัญ"

"อย่างไรก็ดี เราคงต้องติดตามอยู่ว่าเกษตรกรของไทยจะดำเนินการตามคำแนะนำของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือไม่ โดยเกษตรกรไทยอาจจะยังคงเลือกเพาะปลูกข้าวต่อไป เนื่องจากราคาข้าวที่ส่งออกสู่ตลาดโลกในขณะนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก" นายทีจากรากล่าว

--------------------- Rice markets could face further turmoil as Thailand urges farmers to plant less rice CNBC-- Thailand, the world?s second largest exporter of rice, is encouraging its farmers to plant less of the crop in a bid to save water ? a move that could roil rice markets further following India?s export ban.

Thailand is facing a spate of low rainfall. In an effort to conserve water for consumption, the Office of the National Water Resources (ONWR) has called on the country?s farmers to turn to "planting crops that use less water [which] can be harvested quickly."

"The cumulative rainfall is about 40% less than normal, which is at high risk of water shortage," secretary-general of the ONWR, Surasri Kidtimonton, said in a statement released by Thailand?s National Water Administration.

Kidtimonton said the country?s water management needs to "focus on water for consumption," as well as "water for cultivation mainly for perennial crops."

Perennial crops are crops that grow back after harvest and need not be replanted every year, unlike annual crops. Rice is categorized as an annual crop.

For every kilogram of rough rice grown, an average of 2,500 liters of water is needed. In comparison, alternative crops like millets require between 650 to 1,200 liters of water for the same amount harvested.

Just last month, India banned exports of non-basmati white rice, a move aimed at ensuring "adequate availability" in domestic markets, the government said.

India is the world?s leading rice exporter and accounts for 40% of global rice trade, and the ban is expected to affect millions.

"Global rice price will have the potential to increase further in the event that rice production in Thailand decreases significantly year on year," Rabobank?s senior analyst Oscar Tjakra told CNBC.

However, it still remains to be seen whether Thai farmers will follow the directive, said Tjakra.

"Thai farmers might still choose to plant rice on the back of the current high global rice export prices environment," he said.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ