ภาวะตลาดอนุพันธ์: ปรับลงแรงจากกังวลศก.ทั้งในและตปท.รับพิษโควิด-เกาะติดงบ Q2/63 สัญญาณไม่ดี

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday July 30, 2020 18:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายวรุต รุ่งขำ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า การซื้อขาย SET50 Index Futures วันนี้ปรับตัวลงแรง เป็นการปรับฐานตามตลาดหุ้นต่างประเทศ และดาวน์โจนส์ฟิวเจอร์พักฐานปรับตัวลงกว่า 200 จุด จากความวิตกกังวลทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐหลังคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2/63 จะย่ำแย่ค่อนข้างมาก สะท้อนผลกระทบเศรษฐกิจจากโควิดจากการปิดเมืองในเดือน เม.ย.63

ขณะเดียวกันบ่ายวันนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์ว่าในปี 63 เศรษฐกิจไทยจะติดลบถึง 8.5% รับผล กระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นหลักก่อนจะกลับมาขยายตัวในระดับ 4-5% ในปี 64 ทำให้เพิ่มความวิตก กังวลเศรษฐกิจในประเทศเป็นแรงกดดันการเคลื่อนไหวของ SET50 Index Futures ในภาคบ่าย

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาการประกาศผลประกอบการในไตรมาส 2/63 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นที่ยัง ประเมินว่าเศรษฐกิจและผลประกอบการบจ.ที่ทยอยออกมาน่าจะมีสัญญาณไม่ดีมากนัก เป็นโมเมมตัมที่ทำให้ตลาดพักฐานค่อนข้างแรง

แนวโน้มวันพรุ่งนี้คาดว่าจะมีการรีบาวด์ได้บ้าง แต่ยังต้องรอทิศทางตลาดภูมิภาคและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ประเมินแนวต้าน ที่ 856 จุด และ 864 จุด หากไม่ผ่านอาจพักฐานและปรับตัวลงต่อได้ แต่คาดว่าการอ่อนตัวจำกัด มองแนวรับที่ 838 จุดซึ่งเป็นจุดต่ำสุด เมื่อ 15 พ.ค.63 ถ้ายืนได้น่าจะรีบาวด์ แต่หากยืนไม่ได้ก็ให้แนวรับถัดไปที่ 828 จุด ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดเมื่อ 1 พ.ค.63 แนะนำหากรีบาวด์ ให้ทยอยขาย (short) ตามแนวต้าน หากไม่ผ่าน 864 จุดที่เป็นแนวต้านที่คาดว่าจะค่อยๆ ปรับฐานลง

ส่วนราคาทองคำวันนี้แกว่งตัวออกด้านข้างหลังจากปรับตัวขึ้นมา ราคาปรับตัวขึ้นทดสอบในระดับ 1,980-1,981 เหรียญ สหรัฐ/ออนซ์มา 2 ครั้งในวันที่ 28 ก.ค. และ 29 ก.ค.แต่ไม่ผ่าน และมีแรงขายทำกำไร แต่การย่อตัวไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

มองราคาทองคำพรุ่งนี้มีแนวรับที่ 1,930 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ หากทรงตัวและยืนเหนือแนวรับได้ จะเกิดการสร้างฐาน และ ย่อตัวลงมาสะสมแรงซื้อก็มีลุ้นรีบาวด์และดีดตัวขึ้นไปแตะแนวต้าน 1,981 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ และให้ แนวต้านถัดไปที่ 2,000 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์

ทั้งนี้ ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และประธานเฟดส่ง สัญญาณแสดงความเห็นด้วยสภาคองเกรสใช้นโยบายการคลัง ทำให้ทองคำกลับมาได้รับความนิยม จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทำ ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งการถือทองคำช่วยปกป้องภาวะเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากสภาทองคำโลก คาดว่าอุปสงค์ของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้บริโภคทองคำอันดับ 2 ของโลก มีทิศทาง ชะลอตัวในรอบ 26 ปี ฉะนั้นแรงซื้อทองคำมาจากแรงเก็งกำไรจากกองทุน ทำให้อาจเผชิญแรงขายทำกำไร กลยุทธ์แนะนำลงทุนในกรอบ เข้าซื้อ (long) แนวรับที่ 1,930 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ หากหลุดระดับนี้อาจเข้าซื้อที่แนวรับ 1,906 และ 1,900 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ โดยระดับ 1,906 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์เป็นระดับต่ำสุดเมื่อวันที่ 28 ก.ค.63 ซึ่งเป็นแนวรับจิตวิทยา

ดัชนี SET50 ปิดวันนี้ที่ระดับ 854.12 จุด ลดลง 17.29 จุด, -1.98%

                           ปริมาณ                 สถานะคงค้าง
Total Market              519,377                1,809,592
Total Futures             511,597                1,766,576
SET50 Index               201,270                  290,377
Sector Index                    -                       -
Single Stock              232,380                1,377,085
Precious Metal             49,795                   58,775
- GF10                     14,731                   30,565
- GF50                        511                    1,580
- Gold Online              34,553                   26,630
Deferred Precious Metal         4                        4
- GOLD-D                        4                        4
Currency                   28,136                   40,099
Interest Rate                   -                       -
Agriculture                    12                      236
Total Options               7,780                   43,016
Call                        3,142                   12,797
Put                         4,638                   30,219

สรุปปริมาณการซื้อขายตามกลุ่มผู้ลงทุน
                           นักลงทุนสถาบัน         นักลงทุนต่างชาติ           นักลงทุนภายในประเทศ
Futures                     +80,633                +859                  -81,492
Options                        +437                -125                     -312

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ